สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุตรดิตถ์ประชุมคณะทำงานติดตามสถานการไฟป่าหมอกควัญ และฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5)
สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุตรดิตถ์ประชุมคณะทำงานติดตามสถานการไฟป่าหมอกควัญ
และฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5)
นางสาว อนุพร โนเรือง นักวิชาการสิ่งเเวดล้อมชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานติดตามสถานการณ์ไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ณ ห้องประชุม ชั้น 3 สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีนายมรกต อินทรภู่ ผู้อำนวยการส่วนทรัพยากรธรรมชาติ จ.อุตรดิตถ์ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ในการประชุมขอความร่วมมือหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์
เพื่อขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหา ไฟป่าและหมอกควันในท้องที่จังหวัดอุตรดิตถ์ตามนโยบายของนาย สมหวัง พ่วงบางโพ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือ
1.จุด Hot Spot ลดลง
2.พื้นที่ป่า ถูกไฟป่าลดลง
3.ลดจำนวนปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5
เนื่องจากในช่วงฤดูแล้ง มักจะเกิดปัญหาไฟป่าขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งสาเหตุสำคัญ
คือ เกิดจากการเก็บหาของป่า ล่าสัตว์ เผาไร่ และการกำจัดวัชพืช ในที่ดินที่ทำกินของเกษตรกรที่อยู่
ใกล้พื้นที่ป่า เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก โดยเมื่อมีการจุดไฟแล้วไม่มีการควบคุม จนทำให้ไฟไหม้ลุกลามเข้าไปในป่า
จนกลายเป็น ไฟป่า หรือเกิดจากความคึกคะนองจุดไฟเผาป่า เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่อุทยาน
แห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ทำความเสียหายแก่ทรัพยากรป่าไม้
และสัตว์ป่าเป็นจำนวนมหาศาล ทำให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณเป็นจำนวนมากในการระดมกำลังเจ้าหน้าที่
พร้อมเครื่องมือ เครื่องใช้ และยานพาหนะในการ เข้าระงับดับไฟ ดังนั้น เพื่อเป็นการระงับและป้องกันไม่ให้เกิด
ความเสียหายจากไฟป่าดังกล่าว อีกทั้งให้ราษฎรได้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า
จังหวัดอุตรดิตถ์จึงได้จัดทำประกาศกำหนดเขตควบคุมไฟป่า และการเผาในที่โล่งแจ้งขึ้น
อาศัยอำนาจตามมาตรา 15, 17 และ 22 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
พ.ศ. 2550 จึงกำหนดให้พื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็น “เขตควบคุมไฟป่า” และกำหนดมาตรการในการป้องกัน
ไฟปาขึ้นไว้ ดังนี้
ภายในพื้นที่เขตควบคุมไฟป่า
1. นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 จนถึงวันที่ 31พฤษภาคม 2566 หากราษฎรมีความ
จำเป็นต้องเผาวัชพืช ซึ่งอยู่ในที่ดินทำกิน ในเขตพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ป่าอนุรักษ์ ที่ได้รับการ
ผ่อนผันหรือแก้ไขปัญหาตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ขอให้ราษฎรผู้ถือครองที่ดิน
ดังกล่าว จัดทำแนวกันไฟ พร้อมแจ้งผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนันในพื้นที่ เพื่อประสานขอกำลังเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง
หรือประสานกับสถานีควบคุมไฟป่าในพื้นที่หรือหน่วยควบคุมไฟป่าที่ใกล้เคียง เพื่อจัดเจ้าหน้าที่คอยควบคุมไฟ
มิให้ลุกลามเข้าไปยังพื้นที่อื่น ๆ โดยเด็ดขาด หากมีผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามและไฟลุกลามเข้าไปในเขตพื้นที่ป่าไม้
เขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ผู้กระทำความผิด
ต้องถูกระวางโทษทั้งจำทั้งปรับตามกฎหมาย
2. การจุดไฟเผาป่า และ/หรือ ปล่อยให้ไฟลุกลามเข้าไปยังพื้นที่ที่มีการหวงห้ามตามกฎหมาย
จะมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ ดังนี้
2.1เขตพื้นที่บำาไม้ มีความผิดตามพระราชบัญญัติป่ไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 72 ตรี
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.2 เขตป่าสงวนแห่งชาติ มีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
มาตรา 31 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 150,000 บาท
2.3 เขตอุทยานแห่งชาติ มีความผิดตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562
มาตรา 41 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 4 ปี ถึง 20 ปี หรือปรับตั้งแต่ 400,000 บาท ถึง 2,000,000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
นาคา คะเลิศรัมย์/รายงาน