ร้อยเอ็ดโครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์พื้นที่ลุ่มน้ำชีเพื่อนำไปสู่ความสมดุลและการพัฒนาอย่างยืน /ชมรมสื่อออนไลน์IT/MOITC:ชสอท. สมนึก-ประธาน/0817082129-

ร้อยเอ็ดโครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์พื้นที่ลุ่มน้ำชีเพื่อนำไปสู่ความสมดุลและการพัฒนาอย่างยืน
/ชมรมสื่อออนไลน์IT/MOITC:ชสอท.
สมนึก-ประธาน/0817082129-


ร้อยเอ็ดศึกษายุทธศาสตร์ลุ่มข้ำชี16พค62ดำรงค์ รอง.ผวจ.ประธานโดยบุญสม แทนทรัพยากรน้ำและคณะ/ชสอท.MOITC/nuk-0817082129

เมื่อเช้าวันนี้วันที่ 16 พฤษภาคม 2562 ณ ห้องประชุมประดับเพชร โรงแรมเพชรรัชต์การ์เด้นท์ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด นายดำรงค์ สิริวิชย อิ่มวิเศษ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานในการประชุมปฐมนิเทศโครงการศึกษา การประเมินสิ่งแวดล้อม ระดับยุทธศาสตร์พื้นที่ลุ่มน้ำชี โดยการดำเนินงานของนายบุญสม ชลพิทักษ์ วงศ์ ผู้แทนสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และคณะ การศึกษาในครั้งนี้ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำชีประกอบด้วย 27 ลุ่มน้ำสาขา มีแม่น้ำที่สำคัญ คือแม่น้ำชีเป็นแม่น้ำสายหลักและมีลำน้ำสาขาต่างๆได้แก่ น้ำพรม น้ำเชิญน้ำพอง ลำน้ำปาว น้ำยัง เป็นต้น

นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ ผู้แทนสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติแห่งชาติ กล่าวรายงานว่า.-ลุ่มน้ำชีครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 50,000 กิโลเมตรหรือประมาณ 31 ล้านไร่ อยู่ในเขตพื้นที่ 13 จังหวัด ได้แก่ชัยภูมิ นครราชสีมา เพชรบูรณ์เลย หนองบัวลำภู ขอนแก่น มหาสารคาม อุดรธานี กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษและอุบลราชธานี

มีประชากรประมาณ 6 ล้านคน โดยมีปริมาณฝนรายปีประมาณ 1,200 mm และปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ย 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ความสามารถในการเก็บกักน้ำของลุ่มน้ำ มีเพียง 5.700 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ความต้องการน้ำในปัจจุบันสูงถึง 9,000 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงประสบปัญหาเรื่องภัยแล้งตลอดมา รวมถึงปัญหาน้ำเสียที่เกิดจากการปล่อยน้ำ ทิ้งของชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม การชะล้างของสารเคมี ทางการเกษตรลง แหล่งน้ำ และสภาพพื้นที่บางแห่งเป็นดินเค็ม

จากสภาพปัจจุบันของลุ่มน้ำชีสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติหรือสทนช. จึงเห็นความจําเป็นของการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์พื้นที่ลุ่มน้ำชี เพื่อประเมินศักยภาพและข้อจำกัดของสิ่งแวดล้อม ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำชี ที่สามารถนำไปสู่ความสมดุลและการพัฒนาอย่างยืน ทั้งในมิติของเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับการจัดการน้ำลุ่มน้ำทั้งระบบ เพื่อเพิ่มความมั่นคง ด้านน้ำของประเทศยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีพศ 2561 ถึง 2580

การศึกษาในครั้งนี้ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำชีประกอบด้วย 27 ลุ่มน้ำสาขามีแม่น้ำที่สำคัญคือแม่น้ำชีเป็นแม่น้ำสายหลัก และมีลำน้ำสาขาต่างๆได้แก่น้ำพรม น้ำเชิญ น้ำพอง ลำน้ำปาว น้ำยังเป็นต้น

สำหรับวันนี้เป็นการประชุมปฐมนิเทศโครงการมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิหัวหน้าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชนและประชาชน ที่ให้ความสนใจ เพื่อระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยน ข้อมูลความคิดเห็น ในกระบวนการคิดร่วมกัน ตลอดจนการให้ข้อเสนอแนะ ต่อการดำเนินโครงการซึ่งสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และคณะผู้ศึกษาพร้อมรับฟังและจะได้นำไปประกอบการศึกษาในรายละเอียดต่อไป

/ชมรมสื่อออนไลน์ IT:MOITC:ชสอท.
สมนึก บุญศรี-ประธาน/0817082129-