กำหนดการสัมมนา หัวข้อ “การเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายการเมืองวิถีใหม่”

กำหนดการสัมมนา
หัวข้อ “การเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายการเมืองวิถีใหม่”
จัดโดย คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา
ร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน
วันอังคารที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๔

ณ อาคารลักขณา ชั้น ๑ โรงแรมลักซ์ บูติค จังหวัดนนทบุรี
– ลงทะเบียนเข้าร่วมการสัมมนา
นายพลเดช ปั่นประทึบ โฆษกคณะกรรมาธิการ สมาชิก(วุฒิสภา)
– กล่าวเปิดการสัมมนา โดย
นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาริการ สมาชิก(วุฒิสภา)
– การระดมความคาดหวังของผู้เข้ารวมสัมมนา
โดย นายบรรหาร บุญเขต อนุกรรมาธิการ
และประธานคณะทำงานประชาธิปไตยการเมืองวิถีใหม่.นายสุรพงษ์ พรมท้าว คณะอนุกรรมาธิการ และคณะอนุกรรมมาธิการอีกหลายท่าน มาร่วมฟัง ร่วมหารือ จากหลายภาคส่วน 24 จังหวัดภาคกลาง
– การบรรยายเรื่อง “ขับเคลื่อนการเมืองวิถีใหม่โดยภาคประชาชน”
โดย นายพลเดช ปั่นประทึป (สมาชิกวุฒิสภา)โฆษกคณะกรรมาธิการ
และประธานคณะอนุกรรมาธิการการมีส่วนรวมของประชาชน

– การบรรยายเรื่อง “ขับเคลื่อนการเมืองวิถีใหมโดยภาคประชาชน (ต่อ)
ㆍ- แบ่งกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมความคิดเห็น
แนวทางการขับเคลื่อนและการสร้างการเมืองวิถีใหมโดยประชาชน

– แลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือซักถาม
กล่าวปิดการสัมมนา โดย
นายพลเดช ปั่นประทึป (สมาชิกวุฒิสภา) โฆษกคณะกรรมาธิการ

…..วัตถุประสงค์
๑. เพื่อสร้างเครือข่ายทางการเมืองที่มีคุณภาพและคุณธรรมครอบคลุมทั้งประเทศ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
เพื่อจุดประกายแนวคิดการเมืองวิถีใหม่ ร่วมปฏิรูปการเมือง ให้กับเครือข่ายการเมืองวิถีใหม่
. บูรณาการหลักการประชาธิปไตยชุมชน ประชาธิปไตยท้องถิ่น และประชาธิปไตยตัวแทน
เพื่อพัฒนาการเมืองไทยอย่างยั่งยืน

กลุ่มเป้าหมาย
จำนวน ๘๐ คน ประกอบด้วย
๑. คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา และคณะอนุ
กรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน
๒. เครือข่ายภาคประชาชน
รูปแบบการจัด
๓. การบรรยายและระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองวิถีใหม่
๔. การแบ่งกลุ่มสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทาง
การขับเคลื่อนและการสร้างการเมืองวิถีใหม่โดยประชาชน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑. การสร้างเครือข่ายการเมืองวิถีใหม่ครอบคลุมทั่วประเทศ
๒. นำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะไปพัฒนาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการเมืองวิถีใหม่
โดยภาคประชาชน
งบประมาณ
คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา

โครงการสัมมนาหัวข้อ”
“การเสริมสร้างศักยภาพเครื่อข่ายการเมืองวิถีใหม่”

“หลักการและเหตุผล”
ด้วยคณะอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน ในคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง
และการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา เห็นว่าเพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวผ่านความขัดแย้ง
ทางการเมืองซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังของประเทศ จึงเห็นสมควรดำเนินการสร้างเครือข่ายการเมืองวิถีใหม่
เพื่อผลักดันให้เกิดการเมืองเชิงคุณธรรมและจริยธรรม การเมืองเชิงจิตอาสา และเป็นการเมือง
ของสุภาพชน มุ่งประโยชน์ส่วนรวมเป็นตัวตั้ง และส่งสริมให้เกิดนักการเมืองวิถีใหม่ คือ ผู้อาสาทำงาน
การเมืองโดยเสียสละ มุ่งมั่นนำความรู้ ความสามารถและความเป็นมืออาชีพของตนมารับใช้ประชาชน
และประเทศชาติ โดยไม่หวังผลประโยชน์ตอบแทนและไม่แสวงหาประโยชน์ในทางที่ผิด
หลักการสำคัญของการเมืองวิถีใหม่ คือ

หลักการ ๕ ต้อง
๑. ต้อง ยึดมั่นในระบอบการปกครองแบบประชาธิปตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๒. ต้อง ทำงานการเมืองแบบจิตอาสา เป็นผู้ขันอาสาทำงานส่วนรวม ไม่หวังประโยชน์ตอบแทน
๓. ต้อง เสริมสร้างความรักสามัคคีของคนในชาติและภาคภูมิใจในวัฒนธรรมประเพณีไทย
๔.ต้อง เชื่อมั่นและสนับสนุนหลักนิติรัฐ เคารพกฎหมาย
๕.ต้อง มีสบิริตความเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ขนะ รู้อภัย รู้ขอโทษและรู้อดทนรอคอย

หลักการ ๕ ต้องไม่
๑. ต้องไม่ ทำให้เกิดการแบ่งขั้วแยกฝ่ายทางการเมืองจนบ้านเมืองแตกแยก
๒.ต้องไม่ สร้างหรือใช้ข้อมูลเท็จหรือข่าวปลอม (Fake News) เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง
๓. ต้องไม่ สร้างหรือใช้วาทกรรมที่สร้างความเกลียดชังในสังคม (Hate Speech)
-๔. ต้องไม่ ใช้ตำแหน่งและสถานะทางการเมืองไปกระทำทุจริตและประพฤติมิชอบ
๕. ต้องไม่ กระทำและไม่สนับสนุนการทำผิดหรือละเมิดกฎหมาย
อนึ่ง หากได้ส่งเสริมให้มีการสร้างเครือข่ายการเมืองวิถีใหม่ในทุกจังหวัดของประเทศไทย
ก็จะเป็นการสร้างกลไกที่สำคัญในการเผยแพร่หลักการสำคัญของการเมืองวิถีใหม่เบื้องตัน
อย่างกว้างขวาง และเปลี่ยนแปลงให้ประชาชนเข้าใจการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างถูกต้อง ด้วยเหตุผลข้างต้น
คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา และคณะอนุกรรมาธิการ
รมีส่วนร่วมของประชาชน จึงเห็นเป็นโอกาสอันเหมาะสมในการจัดการสัมมนา
“การเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายการเมืองวิถีใหม่” เพื่อที่จะสร้างเครือข่ายการเมืองวิถีใหม่ อันจะเป็น
รากฐานในการพัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้ยั่งยืน
สืบไป
ในทางผิด