ชาวท่ายาง ระดมคิดเห็น! ตรึงเครียด! ก่อนลงมติ “ผ่าน”ปรับปรุงสามแยกท่ายาง

ชาวท่ายาง ระดมคิดเห็น! ตรึงเครียด! ก่อนลงมติ “ผ่าน”ปรับปรุงสามแยกท่ายาง

เมื่อเวลา09.00น.วันที่5เมษายน 2564 นางวันเพ็ญ มังศรี รอง ผวจ.เพชรบุรี เป็นประธานเปิด การมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียเพื่อคัดเลือกรูปแบบการปรับปรุงสามแยกท่ายาง ครั้งที่2 เพื่อประชาสัมพันธ์งานโครงการงานก่อสร้างทางหลวงหมายเลข4 ปรับปรุงทางแยกท่ายาง กิโลเมตรที่ 169+106 ตอนเขาวัง-สระพระ โดยยกระดับความสูงของผิวจราจรและก่อสร้างจุดกลับรถใต้ทางแยก เพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้เส้นทาง และเป็นการสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว โดยการจัดระดมความคิดเห็นดังกล่าว จัดขึ้นที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลท่ายาง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี โดยมี นายประทีป นทีทวีวัฒน์ นายอำเภอท่ายาง นายนที ขวัญแพ ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงเพชรบุรี นายพอพล อุทัยศรี รองผู้อำนวยการแขวงทางหลวงเพชรบุรี นางนฤมล กิจพ่วงสุวรรณ อดีตนายกเทศมนตรีตำบลท่ายาง หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำส่วนท้องถิ่น และประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้าร่วม
ทั้งนี้สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่14 ตุลาคม 2564 แขวงทางหลวงเพชรบุรีได้จัดประชุม การแสดงความคิดเห็นและเลือกแบบก่อสร้างปรับปรุงทางแยกและยกระดับความสูงของผิวจราจร พร้อมทั้งก่อสร้างจุดกลับรถใต้ทางแยกบริเวณสามแยกท่ายาง ด้วยงบประมาณ 100 ล้านบาท งบประมาณปี 2564
เนื่องจากปัจจุบันสภาพปัญหาการจราจรบนท้องถนนเกิดการติดขัดเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลและวันหยุดราชการ และทำให้เกิดปัญหาอุบัติเหตุขึ้นจนทำให้ประชาชนได้รับความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งในพื้นที่อำเภอท่ายาง และบริเวณสามแยกท่ายาง ปัจจุบันมีการติดตั้งสัญญาณไฟจราจร จึงทำให้ไม่สะดวกที่จะระบายรถในทางตรง และประชาชนเสี่ยงกับการเกิดอุบัติเหตุขณะรอจุดกลับรถเพื่อมุ่งหน้าเข้าตลาดท่ายาง ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาจราจรในบริเวณทางแยกท่ายาง ซึ่งมีปริมาณการจราจรสูงขึ้นให้มีประสิทธิภาพ โครงข่ายทางหลวงจึงจัดทำโครงการปรับปรุงทางแยกดังกล่าว โดยยกระดับความสูงของผิวจราจรและก่อสร้างทางกลับรถใต้ทางแยก เพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้เส้นทาง และเป็นการสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว

สำหรับการร่วมกันแสดงความคิดเห็น และการตัดสินใจร่วมกันเมื่อวันที่14 ตุลาคม 2564 นั้น ประชาชนเสียงส่วนใหญ่ได้มีมติเลือกให้ทางกรมทางหลวงใช้แบบลักษณะ taer drop double โดยเวนคืนที่ดินร่วมกับทำทางลอดใต้สะพาน โดยจะสร้างทางยกระดับตามแนวถนนเพชรเกษม มีความสูงของสะพานประมาณ 2.00 เมตร และจะขุดกดลงอีกประมาณ 1.50 เมตร แล้วจะทำวงเวียนเข้าออกระหว่างท่ายาง-เมืองเพชรบุรี-ท่ายาง -ชะอำ ส่วนเส้นทางไปหมู่บ้านหนองแฟบ-ปึกเตียน ยังคงใช้เส้นทางตามปกติเหมือนเช่นปัจจุบัน อย่างไรก็ตามทางวิศวกรกรมทางหลวงจะดำเนินการประยุกต์แก้ไขแบบก่อสร้างตามที่ประชาชนร้องขอ และจะเขียนแบบมานำเสนอให้ประชาชนได้ทราบ
ต่อมาวันที่5 เมษายน 2564 แขวงทางหลวงเพชรบุรี ได้จัดประชุมแสดงความคิดเห็น เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับฟังข้อมูลข่าวสาร ร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะในทุกขั้นตอนของโครงการก่อสร้าง อันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนรวมอย่างแท้จริงรวมทั้งเป็นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ระหว่างภาครัฐและเอกชน ส่งผลให้เกิดความร่วมมือที่ดีต่อโครงการ
นางวันเพ็ญ มังศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เผยว่า การดำเนินการของกรมทางหลวง เป็นการก่อสร้างปรับปรุงทางแยกท่ายางที่ ก.ม.169+106 ตอนเขาวัง-สระพระ โดยยกระดับความสูงของผิวจราจรและก่อสร้างจุดกลับรถใต้ทางแยก ก่อให้เกิดประโยชน์ คือ

1.เป็นการพัฒนาโครงข่ายระบบการคมนาคมและขนส่ง
2.อำนวยความสะดวกและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในพื้นที่และประชาชนทั่วไป
3.เกิดทัศนียภาพที่สวยงาม เป็นระเบียบ และสอดรับกับยุทธศาสตร์ของประเทศ พร้อมสนับสนุนการท่องเที่ยว
4.เป็นการป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดจากอุบัติเหตุ
5.ผู้ใช้เส้นทางได้รับความสะดวกและปลอดภัย
ขณะที่บรรยากาศของการร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะการปรับปรุงทางแยกท่ายางในครั้งนี้ ประชาชนผู้มีส่วนได้เสียชาวท่ายาง เป็นไปอย่างตรึงเครียด เนื่องจากชาวบ้านยังหวั่นวิตกว่าหากมีการปรับปรุงจริงจะเกิดผลกระทบเรื่องปัญหาน้ำท่วมขังที่เคยมีมาในอดีต และยังกังวลว่าหากมีการดำเนินการตามแบบที่แขวงทางหลวงนำมาเสนอ จะทำให้รถใหญ่ไม่สามารถนำสินค้าไปส่งให้กับห้างร้านหรือผู้ประกอบการค้าที่อยู่ภายในตลาดได้ นอกจากนั้นรถบัสนำเที่ยวก็จะไม่สามารถเข้ามายังภายในตลาดสดเทศบาลตำบลท่ายางได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจต่อไปในอนคตได้
นางนฤมล กิจพ่วงสุวรรณ อดีตนายกเทศมนตรีตำบลท่ายาง เผยว่า กรณีที่ชาวบ้านหวั่นวิตกว่าแบบการก่อสร้างดังกล่าวกรณีที่จะกดลึกลงไป จะทำให้เกิดน้ำท่วมขังนั้น ตนจะปรึกษาหารือกับแขวงทางหลวงเพื่อปรับปรุงการขุดกดระดับเพื่อความเหมาะสม ซึ่งการแสดงความคิดเห็นร่วมกัน ถือว่าเป็นการนำปัญหามาวิเคราะห์และหาวิธีแก้ไขร่วมกัน ส่วนปัญหาน้ำท่วมขังที่ประชาชนหวั่นวิตกนั้น คงไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะทางเทศบาลตำบลท่ายาง ได้ดำเนินการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ตลาดท่ายางมาอย่างต่อเนื่อง

ส่วนปัญหาอื่นๆเช่น การเวนคืนที่ดิน และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นบริเวณสองฝั่งถนนนั้น นายนที ขวัญแพ ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงเพชรบุรี เผยว่า ยังไม่อาจจะสรุปได้หากที่ประชุมยังไม่สามารถสรุปรูปแบบการก่อสร้างได้ ทำให้บรรยากาศดำเนินไปด้วยความตรึงเครียด หลายคนลุกขึ้นพยายามเสนอแนวคิดด้วยวัตถุประสงค์เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับชาวท่ายาง สุดท้ายได้ข้อสรุปร่วมกันคือ ใช้รูปแบบการดำเนินการเดิม โดยมีความเห็นส่วนใหญ่ให้มีการขุดกดลึกใต้สะพานประมาณ1 เมตร ซึ่งจะได้ความสูงของสะพานซึ่งเป็นทางลอดมีความสูงประมาณ 3 .50 ม-4.00 ม ซึ่งทางแขวงทางหลวงจะดำเนินการนำข้อหารือกลับไปทบทวนพิจารณา
ก่อนที่จะมีการลงมือก่อสร้างและปรับปรุงทางแยกท่ายางต่อไปในอีกไม่ช้า

กสิพล ศิริลาภ-เพชรบุรี