จ.ราชบุรี/อำเภอสวนผึ้ง และพช.ราชบุรี เดินหน้าขยายผลการดำเนินงานตามแนวพระราชดำริฯ ร่วมกับอุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี อำเภอสวนผึ้ง เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และขับเคลื่อนโครงการ 9;10 ปฏิบัติบูชา “สืบสาน รักษา ต่อยอด” แนวพระราชดำริ ประจำปี 2565

จ.ราชบุรี/อำเภอสวนผึ้ง และพช.ราชบุรี เดินหน้าขยายผลการดำเนินงานตามแนวพระราชดำริฯ ร่วมกับอุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี อำเภอสวนผึ้ง เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และขับเคลื่อนโครงการ 9;10 ปฏิบัติบูชา “สืบสาน รักษา ต่อยอด” แนวพระราชดำริ ประจำปี 2565

ณ อุทยานธรรมชาติวิทยาตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
อำเภอสวนผึ้ง ร่วมกับอุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี พช.ราชบุรี และคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัด ร่วมกันจัดกิจกรรมทอดผ้าป่าต้นกล้าพันธุ์พืช ตามโครงการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งตามแนวพระราชดำริสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย นางยุพิน เศรษฐศักดาศิริ พัฒนาการจังหวัดราชบุรี, ผู้อำนวยการกลุ่มงานฯ, พัฒนาการอำเภอทุกอำเภอ, นักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัดและอำเภอ, เจ้าหน้าที่โครงการอุทยานธรรมชาติฯ, ภาคีเครือข่ายและประชาชน รวมจำนวน 50 คน เข้าร่วมกิจกรรมฯ
กิจกรรม ดังนี้
นายอดุลย์ ถาวรกุล นายอำเภอสวนผึ้ง เป็นประธานกล่าวนำถวายผ้าป่าต้นกล้าพันธุ์พืช พระสงฆ์พิจารณาผ้าป่าต้นกล้าพันธุ์พืช ส่งมอบผ้าป่าต้นกล้าพันธุ์พืชให้นายอำเภอสวนผึ้ง พัฒนาการจังหวัด คณะกรรมการพัฒนาาตรีจังหวัด เพื่อส่งมอบต่อให้ หน่วยงาน และหมู่บ้านเป้าหมายประกอบด้วย
1.หัวหน้าโครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ รวบรวมเป็นศูนย์ขยายและกระจายพันธุ์พืชแก่ประชาชน
2.บ้านห้วยผาก หมู่ที่ 7 ตำบลสวนผึ้ง
3.บ้านผาปก หมู่ที่ 3 ตำบลสวนผึ้ง
4.บ้านตะโกล่าง หมู่ที่ 8 ตำบลสวนผึ้ง
กล้าพันธุ์พืช ได้รับการสนับสนุนดังนี้
1.สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรี และอำเภอได้บริจาค ต้นมะกรูด, ต้นขนุน, ต้นมะตูมแขก, ต้นพริกไทย, ต้นสะเดามัน, ต้นแค, ต้นยอ, ต้นผึ้ง พร้อมกล้าพันธุ์ผัก(มะเขือและคะน้า) จำนวน 6 ถาด รวม 1,445 ต้น
2.อุทยานธรรมชาติวิทยาตามพระราชดำรฯ ได้สนับสนุนพันธุ์พริกกะเหรี่ยง จำนวน 250 ต้น
3.มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ได้บริจาคจำนวนกล้าพันธุ์ผัก(คะน้าและกวางตุ้ง) จำนวน 4 ถาด 1000 ต้น
4.ตำรวจตระเวนชายแดนกองร้อยที่ 137 ได้สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผัก (คะน้า,ผักบุ้ง,ฟักทอง,มะเขือและพริก) จำนวน 100 ซอง
โครงการ 9;10 ปฏิบัติบูชา “สืบสาน รักษา ต่อยอด”ตามพระราชดำริ ประจำปี 2565 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่ปวงชนชาวไทยและสนองพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา ต่อยอด แนวพระราชดำริฯ
2. เพื่อปฏิบัติบูชา สืบสาน รักษา และต่อยอด แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สู่การปฏิบัติของประชาชน
3. เพื่อส่งเสริมและยกย่องเชิดชูเกียรติหมู่บ้านที่ได้นำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไปประยุกต์ใช้ ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ
1.การประกวดหมู่บ้านต้นแบบการน้อมนำแนวพระราชดำริ ได้แก่ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการทรงงาน 27 ข้อ ฯ ไปประยุกต์ใช้ ในการดำเนินชีวิตและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
2.การประชาสัมพันธ์โครงการ 9;10 ปฏิบัติบูชา “สืบสาน รักษา ต่อยอด” เพื่อพัฒนาชุมชน
3.การประกาศความสำเร็จและมอบรางวัลให้หมู่บ้านต้นแบบพัฒนา
อุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้จัดตั้งอุทยานธรรมชาติวิทยาฯ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เมื่อปี 2538 เพื่อให้เป็นสถานที่ศึกษาสภาพธรรมชาติแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนผู้สนใจ พร้อมทั้งปลูกฝังจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพิทักษ์ รักษา และฟื้นฟูสภาพพื้นที่
อุทยานธรรมชาติวิทยาฯ มีพื้นที่ครอบคลุม 210 ตารางกิโลเมตร บริเวณด้านหลังเทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งเป็นเสมือนกำแพงปะทะพายุฝนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าเบญจพรรณที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า นกพื้นถิ่น และนกอพยพหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งยังเป็นต้นกำเนิดลำน้ำภาชี น้ำตกเก้าโจน และลุ่มน้ำย่อยอื่น ๆ เช่น ห้วยบ่อหวี, ห้วยบ่อคลึง, ห้วยคอกหมู, ห้วยค้างคาว รวมความยาวสายน้ำกว่า 220 กิโลเมตร และมีความหลากหลายทางธรณีวิทยาทำให้เกิดธารน้ำร้อน รวมทั้งพบหินและแร่หลายชนิด เช่น หินอัคนี หินแกรนิต แร่ดีบุก แร่เขี้ยวหนุมาน ฯลฯ
โครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาฯ มีการดำเนินการด้านการสำรวจจำแนกทรัพยากรทางชีวภาพและกายภาพการปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นแหล่งศึกษาสภาพธรรมชาติ การบริการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางวิชาการ การส่งเสริมการวิจัยในท้องถิ่น นอกจากนี้ที่นี่ยังจัดกิจกรรมค่ายสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับเยาวชนเพื่อปลูกฝังให้เห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การจัดกิจกรรมฯ ครั้งนี้ ได้ถือปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)โดยเคร่งครัด

สุพจน์ วรสหวัฒน์จ.ราชบุรี/รายงาน