ข้าว กข.43 ข้าวเพื่อสุขภาพ สำหรับคนรักสุขภาพ

จัดจำหน่ายโดย บริษัท Happy center (Thailand)Co.,Ltd

227/92 ต.สันผีเสื้อ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300

095-9143841

ข้าว กข. 43 พันธุ์ข้าวขาวที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ แถมยังหุงแล้วหอมนุ่มน่ารับประทาน มาทําความรู้จัก ข้าวพันธุ์ กข. 43 กันค่ะ

                   ภาพจาก ฐานข้อมูลพันธุ์ข้าวรับรองของไทย

ถ้าพูดถึงข้าวเพื่อสุขภาพ หรือข้าวที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ที่เหมาะกับคนควบคุมน้ำหนักหรือเป็น เบาหวาน เรามักจะนึกถึงข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวไรซ์เบอรี หรือข้าวไม่ขัดสีเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งบางคนอาจไม่ค่อยถนัดกับการกิน ข้าวกล้อง ข้าวไม่ขัดสีกันเท่าไรใช่ไหมคะ งั้นเอาเป็นว่าวันนี้เราจะพามารู้จักข้าวขาวพันธุ์หนึ่ง ซึ่งเป็นข้าวที่มีค่าดัชนี น้ำตาลต่ำ หุงแล้วก็นุ่ม กินง่าย คือข้าว กข. 43 นั้นเอง

ข้าวมีผลต่อโรคเบาหวานอย่างไร

เมื่อคนเรารับประทานอาหารที่มีแป้ง แป้งจะถูกย่อยโดยน้ำย่อยในทางเดินอาหาร จนได้เป็นกลูโคส(น้ำตาล) ที่สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อนําไปใช้เป็นพลังงานในส่วนอวัยวะต่างๆ ของร่างกายเพื่อใช้แต่ถ้าน้ำตาลมากเกินไป ทําให้ตกค้างในกระแสเลือด จึงเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานและโรคอื่นๆ ตามมาได้

ข้าว กข. 43 ประวัติและความเป็นมา

ข้าวจ้าวพันธุ์ กข. 43 ได้ถูกจัดสรรคัดเลือกจากการผสมพันธุ์ข้าวจ้าวลูกผสมเดียว ระหว่างพันธุ์ ข้าวจ้าวหอมสุพรรณบุรี (พันธุ์แม่) กับพันธุ์ข้าวจ้าวหอมสุพรรณบุรี 1 (พันธุ์พ่อ) โดยศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี โดยช่วงฤดูนาปรัง ปี พ.ศ. 2542 ได้คัดเลือกสายพันธุ์ 3PR 19900712-1-1-2-2-1 โดยทําการทดลองปลูก ในแปลงผลผลิตของศูนย์วิจัยข้าวและในแปลงนาเกษตรกร เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2546 จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2551 และได้มีการรับรองสายพันธุ์ข้าวจากคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ข้าว กรมการข้าวเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552 ใช้ชื่อว่า “กข. 43”

ข้าว กข. 43 ลักษณะเป็นอย่างไร

อย่างที่เราบอกว่า ข้าว กข. 43 เป็นข้าวขาว ซึ่งข้าวขาวในท้องตลาดตอนนี้ก็มีหลากหลายพันธุ์ด้วยกัน ความหอม ความนุ่ม ก็แตกต่างกันออกไป แต่สําหรับลักษณะข้าว กข. 43 พันธุ์นี้ คุณภาพของเมล็ดหลังจากหุงต้ม พบว่า ข้าว กข. 43 หุงสุกนุ่ม เหนียว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ รับประทานง่าย

ข้าว กข. 43 ข้าวขาวน้ำตาลต่ำ

กรมการข้าว โดยกองวิจัยและพัฒนาข้าว และศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ร่วมกับสถาบันโภชนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทําการศึกษาหาพันธุ์ข้าวที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำมากกว่า 100 พันธุ์ในประเทศไทย และพบว่า พันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพการหุงต้มดี เหนียวนุ่ม รับประทานอร่อย แต่ค่าดัชนีน้ำตาลอยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำ ได้แก่ ข้าวพันธุ์ กข. 43 และข้าวพันธุ์พิษณุโลก 80

โดยการวิจัยได้นําข้าวทั้งสองพันธุ์ไปวิเคราะห์หาปริมาณน้ำตาลกลูโคสที่แตกตัวเร็วในข้าวสารในระดับห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณน้ำตาลในเลือด และจากการวิจัยก็พบว่า ข้าวพันธุ์ กข. 43 และพันธุ์พิษณุโลก 80 มีค่าปริมาณน้ำตาลกลูโคสที่แตกตัวเร็วอยู่ที่ 21.8 และ 23.9 กรัมต่อ 100 กรัม ตามลําดับ

ซึ่งผลการทดลองนี้ก็สอดคล้องกับการวิเคราะห์ในมนุษย์ โดยสถาบันโภชนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งพบว่า ข้าวพันธุ์ กข. 43 และพันธุ์พิษณุโลก 80 มีค่าดัชนีน้ำตาลในข้าวขาว 57.5 และ 59.5 ตามล่าดับ น้อยกว่า ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลมากกว่า 69 และมีค่าใกล้เคียงกับข้าวพันธุ์เหลืองประทิว ซึ่งเป็นข้าวอมิโลสสูง ร่วนแข็ง (อมิโลสในข้าว (Apparent amylose-content) คือ คุณภาพข้าวทางเคมีซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญ ที่ทำให้ข้าวสุกมีคุณสมบัติแตกต่างกัน อมิโลสยิ่งสูง ข้าวยิ่งแข็งร่วน อมิโลสต่ำ ข้าวจะนุ่มและเหนียว)

โดยจากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ข้าวพันธุ์ กข. 43 และพันธุ์พิษณุโลก 80 แม้จะเป็นข้าวที่มีอมิโลสต่ำ แต่กลับมีค่าดัชนีน้ำตาลในระดับปานกลางค่อนไปทางดัชนีน้ำตาลต่ำ เหมาะกับผู้บริโภคที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่ห่วงใยสุขภาพ รวมถึงผู้ที่กําลังลดน้ำหนักที่ต้องการจะลดปริมาณน้ำตาล จากข้าวและอาหารที่กินในแต่ละวัน เพราะเมื่อรับประทานอาหารน้ำตาลต่ำ (Low Glycemic Index) อย่างข้าว กข. 43 ร่างกายก็จะเปลี่ยนแป้งไปเป็น น้ำตาลได้ช้าลง ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และช่วยให้เราไม่หิวง่ายด้วยนั่นเอง

 

อย่างไรก็ตาม เรายังมีลุ้นจะได้รับประทานข้าวที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำกว่านี้อีกนะคะ เพราะกรมการข้าวอยู่ในระหว่างการศึกษาพันธุ์ข้าว กข. 43 ในรูปข้าวกล้องและข้าวกล้องงอก เพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้บริโภคต่อไป ซึ่งมีแนวโน้มว่า

ยิ่งรับประทานข้าว กข. 43 ในรูปข้าวกล้องหรือข้าวกล้องงอก จะยิ่งได้ข้าวที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำกว่าในข้าวขาวลงไปอีก ซึ่งน่าจะตอบโจทย์คนรักสุขภาพและคนที่กลัวอ้วนมากเลยทีเดียว

ค่า GI (glycemicindex)

“ค่าดัชนีน้ำตาล (glycemic index, glycaemic index) หรือ GI เป็นหน่วยวัดผลของคาร์โบไฮเดรตต่อระดับน้ำตาลในเลือด คาร์โบไฮเดรตจะแตกตัวอย่างรวดเร็วในระหว่าง การย่อยอาหาร ให้กลูโคสเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตอย่างรวดเร็ว เรียกว่ามีค่า GI สูง คาร์โบไฮเดรตจะแตกตัวอย่างช้าๆ ค่อยๆ ให้กลูโคสเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตอย่างสม่ำเสมอ เรียกว่ามีค่า GI ต่ำ สําหรับคนส่วนมาก อาหาร ที่มีค่า GI ต่ำมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างยิ่ง  แนวคิดที่พัฒนาโดย

ดร. เดวิด เจ. เจนกินส์ (David J. Jenkins) และผู้ร่วมงาน ในปี ค.ศ. 1980-1981 ที่มหาวิทยาลัยโทรอนโต ในงานวิจัยของเขาค้นพบว่าเป็นอาหารที่ดีที่สุด

กับผู้ป่วยเบาหวาน

ขั้นตอนการปลูกและวิธีการดูแลตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว

สายพันธุ์จาก กรมการข้าว

 ต้นกล้าที่แข็งแรง 

พื้นที่นา ที่ร่วมโครงการ กข.43 ข้าวอินทรีย์ชีวภาพ

การทํานาแบบอินทรีย์ชีวภาพ ทําให้ผลผลิตออกมาได้ข้าวที่มีคุณภาพสมบูรณ์เหมาะที่จะเป็นข้าวที่คนเราต้องรับประทานทุกมื้อเพราะเป็นข้าวที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ


ใบรับรองผลิตภัณฑ์ ที่ผ่านการตรวจอย่างถูกต้อง

บริษัท Happy center (Thailand)Co.,Ltd

เลขทะเบียนเกษตรอินทรีย์ : กษ 09 9000 53 001 000002 ORGANIC

 ผลิตโดย วิสาหกิจชุมชน กลุ่มศูนย์ข้าวชุมชน ตําบลคอรุม

99 หมู่2 ต.คอรุม อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ 53120

 จัดจำหน่ายโดย บริษัท Happy center (Thailand)Co.,Ltd

227/92 ต.สันผีเสื้อ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300

095-9143841

ติดต่อสั่งซื้อที


โทร 095-9143841 , 064-7739414

 หรือที่ ศูนย์จำหน่ายข้าว กข.43 ปลีก-ส่ง

227/92 ต.สันผีเสื้อ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300