“ สร้างเยาวชน ต้นกล้าพัฒนาชาติ ” รอง ผอ.ศูนย์ปรองดองฯ กอ.รมน.ภาค 3 พร้อม โฆษกกองทัพภาคที่ 3 ยกทีม ỊỊỊ PR ประชาสัมพันธ์ ทภ.3 ลงพื้นที่สัญจรพบปะสื่อมวลชนจังหวัดตาก …เผยผลงานกองทัพภาคที่ 3 เปิดกิจกรรมโครงการบ่มเพาะต้นกล้าค่านิยม 12 ประการ อพป.

“ สร้างเยาวชน ต้นกล้าพัฒนาชาติ ” รอง ผอ.ศูนย์ปรองดองฯ กอ.รมน.ภาค 3 พร้อม โฆษกกองทัพภาคที่ 3 ยกทีม ỊỊỊ PR ประชาสัมพันธ์ ทภ.3 ลงพื้นที่สัญจรพบปะสื่อมวลชนจังหวัดตาก …เผยผลงานกองทัพภาคที่ 3 เปิดกิจกรรมโครงการบ่มเพาะต้นกล้าค่านิยม 12 ประการ อพป.

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 พันเอก รุ่งคุณ มหาปัญญาวงศ์ โฆษกกองทัพภาคที่ 3 และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 และ ร้อยตรี หญิง ช่อเอื้อง สาสังข์ ผู้ช่วยโฆษกกองทัพภาคที่ 3 และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 พร้อมทีมช่างภาพ PR ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพภาคที่ 3 สัญจรในพื้นที่จังหวัดตาก แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานในภารกิจที่สำคัญของกองทัพภาคที่ 3 ตามนโยบายของกองทัพบก ในสาระสำคัญ ถึง 3 เรื่อง ได้แก่ การปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าผิด และนำเสนอกิจกรรมโครงการที่สำคัญ เช่น

โครงการบ่มเพาะต้นกล้าค่านิยม 12 ประการ ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รุ่นที่ 5 โดยมีเยาวชน ตามโครงการ อพป. ที่กำลังศึกษาในระดับขั้นพื้นฐาน ระดับประถมศึกษาเข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 245 คน โดยมี พันเอก ชาตรี มณีพงษ์ รองผู้อำนวยการศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 เป็นปรธานเปิดโครงการดังกล่าวด้วย

ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2529 พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด รักษาราชการ ผู้บัญชาการทหารบก ได้มอบหมายให้ศูนย์อาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของส่วนมวลชนและกิจการพิเศษ สำนักเลขาธิการ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน) จัดทำโครงการ “เพชรในตม” โดยได้เล็งเห็นว่าการให้การศึกษาแก่ประชาชนในหมู่บ้านที่ห่างไกล จะสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ จึงได้ประสานความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดรับสมัครนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.) มีผลการเรียนดี มีความสามารถ มีความประพฤติดี แต่ครอบครัวมีฐานะยากจน สมัครใจเข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน ได้ผลิตนักศึกษาโครงการเพชรในตมมาแล้ว 34 รุ่น จำนวน 1,123 คน (ในพื้นที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 จำนวน 248 คน) และเมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ก็จะกลับไปบรรจุเป็นข้าราชการครูในหมู่บ้าน อพป. นั้นด้วย เพื่อให้เกิดประโยชน์ครอบคลุมพื้นที่หมู่บ้าน อพป. ซึ่งในปัจจุบันมีหลายหมื่นหมู่บ้าน ด้วยลักษณะของพื้นที่มีความเสี่ยงด้านงานความมั่นคง ที่กระจายอยู่ทั้ง 4 ภูมิภาคของประเทศ ให้เกิดความสงบสุขแก่ประชาชนอย่างแท้จริง

โครงการบ่มเพาะต้นกล้าค่านิยม 12 ประการ ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่หมู่บ้านอพป. จึงได้เริ่มขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา มีการอบรมนักเรียนแกนนำในหมู่บ้าน อพป. จำนวนปีงบประมาณละ 20 รุ่น (รุ่นละ 240 คน) รวมทั้งประเทศ 4,800 คน (ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา มีจำนวนเยาวชนร่วมการอบรมฯ 14,400 คน) สามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพเท่าเทียมและทั่วถึง ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีคณาจารย์, นักศึกษา, ศิษย์เก่า และเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของมหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ เป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรมในโครงการฯ

สำหรับกำหนดการจัดกิจกรรมอบรมในโครงการฯ จะเป็นการเรียนรู้การดำเนินชีวิตตามค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ภายในกรอบระยะเวลา 3 วัน 2 คืน ของการอบรมและการอยู่ร่วมกัน ในส่วนของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ปีงบประมาณ 2562 มีจำนวนเด็กเยาวชนเข้าอบรมฯ และได้รับประโยชน์ จำนวน 1,200 คน มีรายละเอียดดังนี้.

– รุ่นที่ 1 วันที่ 25 – 27 กุมภาพันธ์ 2562 ณ โรงแรมอิมพีเรียลภูแก้ว ฮิลล์รีสอร์ท จังหวัดเพชรบูรณ์

– รุ่นที่ 2 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม 2562 ณ โรงแรมอิมพีเรียลภูแก้ว ฮิลล์รีสอร์ท จังหวัดเพชรบูรณ์

– รุ่นที่ 3 วันที่ 20 – 22 พฤษภาคม 2562 ณ โรงแรมเวียงตาก ริเวอร์ไซด์ จังหวัดตาก

– รุ่นที่ 4 วันที่ 23 – 25 พฤษภาคม 2562 ณ โรงแรมเวียงตาก ริเวอร์ไซด์ จังหวัดตาก

– รุ่นที่ 5 วันที่ 26 – 28 พฤษภาคม 2562 ณ โรงแรมเวียงตาก ริเวอร์ไซด์ จังหวัดตาก

สามารถสร้างการรับรู้ ให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่หมู่บ้าน อพป. มีคุณลักษณะค่านิยม 12 ประการ หลังการบ่มเพาะฯ สูงกว่าก่อนการบ่มเพาะฯ ได้ถึงมากกว่า ร้อยละ 90 ทั้งนี้เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันและมีคุณลักษณะค่านิยมที่สำคัญที่เป็นพื้นฐานอันพึงประสงค์ เพื่อนำไปสู่การยกระดับคุณภาพของเด็กและเยาวชนเป็นกำลังหลักในการพัฒนาหมู่บ้าน อพป. และสังคมต่อไป