พะเยา ตามรอยลิลิตพระลอ เส้นทางแห่งความรักจากเวียงลอสู่เวียงสรอง

พะเยา ตามรอยลิลิตพระลอ เส้นทางแห่งความรักจากเวียงลอสู่เวียงสรอง

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา จัดกิจกรรมส่งเสริมอัตลักษณ์วัฒนธรรมล้านนา และการท่องเที่ยวของสองเมือง

โดยนำเส้นทางประวัติศาสตร์ของเมืองเก่าทั้งสองเมือง ที่มีเรื่องราวของความรักของพระลอ มาเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่เคยมีความสัมพันธ์กันมาในอดีต ตามโครงการ ตามรอยลิลิตพระลอ เส้นทางแห่งความรักจากเวียงลอสู่เวียงสรอง

สินค้าที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมของความเป็นอยู่ของชาวตำบลลอ อำเภอจุน จังหวัดพะเยา รวมทั้งการแสดงแสงสีเสียงที่บอกเล่าถึงประวัติศาสตร์เวียงลอ เป็นส่วนหนึ่ง ที่ถูกนำมาแสดงในงานมหกรรมพัฒนาอัตลักษณ์อารยธรรมการท่องเที่ยวล้านนาตอนบน 2 ของสองเมืองคือเวียงลอกับเวียงสรอง จังหวัดแพร่ ที่ทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา จัดขึ้นที่บริเวณโบราณสถาณวัดศรีปิงเมือง ตำบลลอ อำเภอจุน จังหวัดพะเยา เพื่อเป็นการเชื่อมโยงวัฒนธรรมและส่งเสริมการท่องเที่ยว ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 2 โดยผ่านเรื่องราวของประวัติศาสตร์ ที่มีมายาวนานหลายร้อยปีซึ่ง ทั้งสองเวียงดังกล่าว ได้มีความสัมพันธ์กันมาในอดีต โดยได้เชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยว ภายใต้โครงการ “ตามรอยลิลิตพระลอ เส้นทางแห่งความรักจากเวียงลอสู่เวียงสรอง” ที่ในอดีตเคยมีความสัมพันธ์กันตามตำนานวรรณกรรม ที่บอกเล่าถึงเรื่องราวของเส้นทางความรักระหว่างพระลอกับพระเพื่อนพระแพง

โดยในพื้นที่ทั้งสองเวียง ดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นเวียงที่เก่าแก่และมีวัฒนธรรมโบราณสถานที่มีความโดดเด่นเป็นอัตลักษณ์ของชาวล้านนา ในสมัยเมื่อหลายร้อยปีที่ผ่านมา ซึ่งทางกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนก็ได้นำเรื่องราวดังกล่าวมาพัฒนาเป็นการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ตลอดจนถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยว ระหว่างเวียงลอจังหวัดพะเยา และเหวี่ยงสรอง จังหวัดแพร่ ผ่านเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ซึ่งกิจกรรมได้จัดให้มีการแสดงศิลปวัฒนธรรม แสง สีเสียง เรื่องราวของการกำเหนิด เวียงลอ ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่ของจังหวัดพะเยา และเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองในอดีต รวมทั้งการแสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ผ่านวัฒนธรรมทางอาหาร หัตถกรรม รวมทั้งความเป็นอยู่ของชาวตำบลลอ ในปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ที่มีโบราณสถานที่มีความสวยสดงดงามและยังคงหลงเหลือให้ได้ศึกษาเรียนรู้ รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดพะเยา