อำเภอเมืองร้อยเอ็ด ว่าด้วยเรื่อง ” การพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับอำเภอ (พชอ.)”

อำเภอเมืองร้อยเอ็ด ว่าด้วยเรื่อง ” การพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับอำเภอ (พชอ.)” วันที่ ๒๖ กรกฎาคม 2562 นายเจนเจตน์ เจนนาวิน นายอำเภอเมืองร้อยเอ็ด เป็นประธานเปิดการณรงค์ kick off ป้องกันและแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก ผ่านกลไก

การขับเคลื่อนคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ( พชอ.)อำเภอเมืองร้อยเอ็ด สู่การป้องกัน!!โรคไข้เลือดออก ครั้งที่ ๓ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่,ท้องถิ่น ,ผอ.รพ.สต.พร้อมประชาชนทุกตำบล โดยจัดกิจกรรมพร้อมกันเวลา 09.00น.จำนวน 201 หมู่บ้าน…..สืบเนื่องจากมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกอำเภอเมืองร้อยเอ็ด โดยพบผู้ป่วยในทุกตำบล จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำความเข้าใจและบูรณาการการดำเนินงานกับทุกภาคส่วน อย่างเข้มข้นและต่อเนื่องในพื้นที่ ด้วยมาตรการ ๓ เก็บ คือ เก็บบ้าน เก็บน้ำ และเก็บขยะ เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อำเภอเมืองร้อยเอ็ด มาตรการหลักในการควบคุมโรค ได้แก่
๑. สร้างความรับรู้และความเข้าใจให้ประกับชาวบ้าน เรื่อง โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่ร้ายแรง ไม่มี มี 4 สายพันธุ์ ไม่มียารักษา หากถูกยุงที่มีเชื้อกัด ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันโรค ยุงต้องการเลือดไปสร้างไข่ มีวงจรชีวิต 7 วัน
๒. ป้องกันที่ต้นเหตุ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ใช้มาตรการ 3 เก็บ ดูแลภาชนะที่มีน้ำขัง ใส่ทรายอะเบท ปลากินลูกน้ำ ปิดฝาภาชนะ
๓. ประชาสัมพันธ์ อาการโรคไข้เลือดออก สามารถแยกโรคให้ได้
ไข้เลือดออกไข้สูงเฉียบพลันและสูงลอยเกิน 2 วัน กินยาลดไข้ไม่ลด เบื่ออาหารมาก มีอาการคลื่นไส้อาเจียน เหนื่อยอ่อนเพลีย
ต้อง แนะนำให้ผู้ป่วยไปรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่โรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
ด้านการควบคุมโรค
๑. กำจัดยุงตัวแก่ โดยการใช้เครื่องพ่นฝอยละอองดีที่สุด ใช้สเปย์ฉีดกำจัดยุงในบ้านที่เกิดโรค รัศมีอย่างน้อย 50 เมตร ถ้าจัดการตามมาตรการต่างๆแล้ว ยังพบโรคไข้เลือดออก แสดงว่า รับมาจากที่อื่น ให้เน้นการกำจัดตัวแก่ยุง ให้ใช้เครื่องพ่นฝอยละออง กำจัดตัวแก่ภายในรัศมี 100 เมตร
๒. ทีม SRRT สอบสวนโรค ภายใน 7 วันก่อนป่วยเดินทางไปไหนบ้าง แจ้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนควบคุมโรค
๓. ทุกคนร่วมกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องให้เป็นบ้าน/สถานที่ ปลอดลูกน้ำยุงลาย ด้วย Big Cleaning Week ทุกบ้าน ทุกพื้นที่ ทุกสัปดาห์ ในชุมชน เช่น วัด โรงเรียน โรงพยาบาล สถานที่ราชการ สถานที่สาธารณะ โดยการสำรวจและกำจัดขยะ หรือภาชนะที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยไม่ต้องรอให้มีน้ำขัง เช่น ถ้วย กล่องโฟม กะลามะพร้าว เปลือกไข่ กระป๋อง แก้วพลาสติก ถังน้ำ ยางรถยนต์ เป็นต้น เราจะขับเคลื่อนไปพร้อมกัน

//////////////////
ภาพ ข่าว :: ศรีไพร ทูลธรรม ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
วีระศักด ิ์จรบุรมย์ บก.ข่าว