สสส.จัดกิจกรรมต่อเนื่องของ โครงการพัฒนาจิตสำนึกเพื่อรู้เท่าทันปัจจัยเสี่ยงจากบุหรี่หรือสุรา หรือโครงการอาสา (ARSA Project)

สสส.จัดกิจกรรมต่อเนื่องของ โครงการพัฒนาจิตสำนึกเพื่อรู้เท่าทันปัจจัยเสี่ยงจากบุหรี่หรือสุรา หรือโครงการอาสา (ARSA Project): โครงการพัฒนาและปฏิบัติการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำโดย ดร. อัญญมณี บุญซื่อ และคณะ

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา ณ โรงเรียนบ้านเกาะหลีเป๊ะ หมู่ที่ 7 บ้านเกาะหลีเป๊ะ ต.เกาะสาหร่าย อ.เมือง จ.สตูล นำโดย ดร. อัญญมณี บุญซื่อ และคณะได้จัดกิจกรรมฝึกสติในการจัดการและดูแลตนเองให้กับเด็กนักเรียนโดย แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงเช้า คือการสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ และช่วงบ่ายคือการสร้างภูมิคุ้มกันทางกายให้กับเด็กๆ
ช่วงเช้ามีกิจกรรมในยุทธศาสตร์การฝึกให้เด็กหัดจัดการความเครียดจากความกลัวแบบต่างๆ สืบเนื่องจากงานวิจัยที่พบว่า การแก้ปัญหาและหาแนวทางเรื่องเหล้าและบุหรี่ ในปัจจุบันพบว่าได้มีความพยายามในการแก้ปัญหาด้วยการหาแนวทางป้องกันปัญหาเรื่องเหล้าและบุหรี่ทั้งในแง่ของการการแก้ปัญหาด้านจิตใจและสุขภาพทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะในด้านการแก้ปัญหาในด้านจิตใจ A Lifespan Developmental-Stage Approach to Tobacco and Other Drug Abuse Prevention US National Library of Medicine National Institutes of Health (2013)

กล่าวว่าทุกคนรู้ว่าเหล้าบุหรี่เป็นสิ่งที่ไม่ดีแต่ก็ยังทำ แสดงให้เห็นว่าปัญหาการติดเหล้าบุหรี่ส่วนหนึ่งคือเมื่อเจอกับความเครียดก็คิดว่าเหล้าบุหรี่คือวิธีการในการผ่อนคลายและจัดการกับความเครียดได้ ดังนั้นการสอนให้เด็กรู้จักจัดการความเครียดให้กับตนเองจึงเป็นสิ่งที่ควรเริ่มพัฒนาตั้งแต่เด็กเล็ก ซึ่งทางโครงการได้จัดกิจกรรมที่มุ่งฝึกให้เด็กเรียนรู้ว่าเมื่อเกิดปัญหาที่สร้างความเครียด เด็กสามารถคิดและแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองและร่วมกับเพื่อนๆ โดยใช้หลักการคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) ในการแยกแยะแจกแจงปัญหา หาจุดร่วมของปัญหา ลำกับขั้นตอนการแก้ปัญหาและหาบทสรุปของปัญหาว่าที่แท้เกิดจากอะไร ควบคู่กับการใช้ทักษะการแก้ปัญหาผ่านปฏิสัมพันธ์เชิงบวก (Interpersonal Cognitive Problem Solving Skills) กับเพื่อนและผู้ใหญ่ เช่น ความกลัวจากการคิดจินตนาการไปเอง (ฐานการรับรู้พื้นผิวต่างๆ ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสเ) ความกลัวจากการเร่งรีบเพื่อให้ทำงานเสร็จทันตามเวลาที่จำกัด (ฐานนับจำนวนปลาเพื่อนำไปแลกของเพื่อสร้างปราสาททราย) ความกลัวจากการต้องคิดไขปริศนาจากอักษรลับ (ฐานทำภารกิจในด่านผจญภัย 3 ด่านเพื่อรับบัตรคำทายปริศนา) ความกลัวจากการต้องกำกับตนเองให้ทำงานให้สำเร็จด้วยตนเอง (ฐานสร้างฟองสบู่ยักษ์)

ความกลัวจากการต้องผจญกับความเชื่อเดิมที่คิดว่ายักษ์น่ากลัว (ฐานหาไข่จระเข้ในถ้ำยักษ์เขี้ยวเพื่อเผชิญกับการต้องพบและหนีจากยักษ์ด้วยการร้องเพลงกล่อมให้ยักษ์หลับ) และฐานเขียนป้ายรณรรงค์เรื่องเหล้าและบุหรี่ (ความเครียดที่ต้องเขียนและสื่อความคิดให้คนอื่นเข้าใจจากเรื่องเหล้าและบุหรี่) พบว่าผลที่เกิดกับเด็กๆ คือ เด็กๆ ส่วนใหญ่มีความพยายามมุ่งมั่นที่จะผ่านปัญหาไปได้กับเพื่อน อาจมีน้องบางคนที่ยังมีความกลัวบ้าง แต่สุดท้ายเมื่อผ่านปัญหาไปได้ ก็เกิดมุมมองใหม่ว่า ที่แท้เราก็กลัวไปเอง สิ่งเหล้านี้จะมีผลต่อการเกิดภูมิคุ้มกันการพึ่งตนเองในการจัดการปัญหาด้วยตนเองในเด็กอันจะเป็นพื้นฐานในอนาคตที่เด็กจะสามารถจัดการกับปัญหาชีวิตได้โดยไม่ต้องพึ่งบุหี่และสุรา และในช่วงบ่ายทางโครงการได้จัดกิจกรรมของยุทธศาสตร์การดูแลตนเองอย่างสร้างสรรค์ผ่านการฝึกการวางแผนติดตามและประเมินการทำงานของตนเองในการออกแบบอาหารและนำ้ดื่มเพื่อบำรุงสุขภาพ การล้างมือให้สะอาด 7 ขั้นตอน รวมถึงการเรียนรู้ว่าภาวะความเมาจากสุราคืออะไรจากการให้เด็กลองเคลื่อนไหวตามเกมปั่นจิ้งหรีด ซึ่งหลักการของกิจกรรมการตกแต่งอาหารเพื่อฝึกการตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ (self-determine) สอดรับการงานวิจัยที่ประเทศสเปน ที่ได้ทำการทดลองกับเด็กอายุ 6-12 ปี ของ Ebert and Hoffmann (2015) พบว่า งานประดิษฐ์ทางศิลปะมีส่วนในการสร้างความคิดสร้างสรรค์ในวิถีชีวิต (quotidien creativity) เพราะเด็กจะพัฒนาการตัดสินใจด้วยตนเองอย่างแน่วแน่ (self-determine) ในการเสนอความคิดของตนด้วยกล้าเสี่ยงที่จะทำ (risk-taking) อันจะเป็นรากฐานของการฝึกการตัดสินใจการแก้ปัญหาอย่างเด็ดเดี่ยวในการเลือกทางเลือกที่จะปฏิเสธสิ่งที่ไม่ดีในทางสร้างสรรค์ เมื่อเผชิญกับความเสี่ยงในชีวิต เช่น เมื่อมีคนมาชวนดื่มเหล้าสูบบุหรี่ ส่วนกิจกรรมการปรุงรสนำ้ผลไม้ (Brown, et. al, 2015) ด้วยตนเองจัดทำขึ้น สอดรับการงานวิจัยของ Brown, et. al (2015) ที่ว่าควรให้เด็กบริโภควิตามินซีที่ได้จากผลไม้ ผักจะช่วยให้การทำงานของปอดดีขึ้น เพื่อที่ว่าเมื่อเด็กๆ มีสุขภาพที่ดีจะสามารถมีภูมิคุ้มกันจากพิษภัยต่างๆ ได้ ผลที่ได้พบว่าเด็กๆ สนุกกับการออกแบบอาหารอย่างเป็นระบบมีการคิดวางแผน แก้ปัญหาจากแผนว่าสิ่งใดเหมาะหรือไม่เหมาะกับร่างกายอย่างไร ควรปรับปรุงการตกแต่งหรือเครื่องปรุงในเรื่องใด และควรลำดับขั้นตอนการทำงานอย่างไร

นิตยา แสงมณี // ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดสตูล