มจร.ร้อยเอ็ดเสวนาวิชาการเรื่อง “แนวทางการจัดการปัญหาขยะในพื้นที่ชุมชนป่าดอนแดง เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน”

ไปที่จังหวัดร้อยเอ็ด/…
มจร.ร้อยเอ็ดเสวนาวิชาการเรื่อง “แนวทางการจัดการปัญหาขยะในพื้นที่ชุมชนป่าดอนแดง เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน”

เมื่อเวลา ๑๔.๐๐ น. วันเสาร์ที่ ๒๒ เดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ณ หอประชุมพระราชธรรมโสภณ (จำปี จนทธมฺโม)วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระราชพรหมจริยคุณ,ดร. เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย กล่าวนำสวดมนต์ใหว้ พระพระครูวาปีจันทคุณ,ผศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ดกล่าวถวายรายงานวัตถุประสงค์การเสวนาวิชาการเรื่อง “แนวทางการจัดการปัญหาขยะในพื้นที่ชุมชนป่าดอนแดง ต.นิเวศน์ อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน”
การเสวนาระดมความเห็นปรึกษาหารือกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน/สถาบันการศึกษาที่ตั้งอยู่รอบกองขยะ เน้นการเปิดใจรับฟัง และการยอมรับ ความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้รวมไปถึงการทำาความเข้าใจซึ่งกันและกัน ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย อีกทั้ง ยังเป็นกระบวนการที่ทำให้ทุกฝ่าย เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
วิทยากร/=
– พระครูวาบีจันทคุณ,ผศ.ตร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงข์ร้อยเอ็ด(ชุมชนรอบกองขยะ)
– นายบุญนำพา ต่างเหลา ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทศโนโลยีร้อยเอ็ด(ชุมชนรอบกองขยะ)

– นายเชาวฤทธิ์ ลำพาย ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด(ชุมชนรอบกองขยะ)

– นายแสงศิลป์ วิไลลักษณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนธวัชบุรีวิทยาคม(ชุมชนรอบกองขยะ)

-ผู้ใหญ่บ้านท่าเยี่ยม .4 นิเวศน์พร้อมผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน (ชุมชนรอบกองขยะ)

-นายกมล ศิริเกตุ รองนายกเทศมนตรีตำบลนิเวศน์/นางเพ็ญจิตร วังผือ รองนายกเทศมนตรีตำบลนิเวศน์ อำเภอธวัชบุรี

ผู้ดำเนินรายการ ผศ.ดร.สยามพร พันธไชย

สรุปสาระสำคัญแนวทางการจัดการปัญหาขยะในพื้นที่ชุมชนป่าดอนแดง เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนโดย- พระครูวาบีจันทคุณ,ผศ.ตร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงขฆ์ร้อยเอ็ดสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ข้างกองขยะ พร้อมจะนำบุคลากรสร้างองค์ความรู้แนวทางแก้ปัญหาลดปัญหาขยะที่ตัวเราเองให้กับชุมชนหมู่บ้านที่อยู่รอบกองขยะส่วนเทศบาลรับปากจะจัดหาที่ทิ้งขยะใหม่

ป่าชุมชนดอนแดง บ้านท่าเยี่ยม ต.นิเวศน์ อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ดชาวบ้านตำบลนิเวศน์ ล้วนอาศัยพึ่งพาเป็น แหล่งอาหารเก็บเห็ด/ผักป่ามาทำอาหาร มีความสำคัญต่อชีวิตมาเป็นเวลานานแล้วชาวบ้านในระแวกยังอาศัยผลผลิตจากป่าเป็นรายได้เสริม เช่นย่านาง ดอกผักติ้ว นอกจากนี้ย้งเป็นที่ตั้งสถาบันการศึกษาสี่-ห้าสถาบันตั้งรายล้อมรอบป่าชุมชน

สุเทพ ลอยแก้ว/รายงาน