ราชบุรีโครงการสืบสานปณิธาน ร.๙ สานต่อในรัชการที่๑๐ “สร้างฝายมีชีวิต”โดยจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ นักศึกษาสถาบันสร้างชาติรุ่นที่ ๗เพื่อคืนชีวิตให้ชุมชน /สุพจน์ วรสหวัฒน์จ.ราชบุรี/รายงาน

ราชบุรีโครงการสืบสานปณิธาน ร.๙ สานต่อในรัชการที่๑๐ “สร้างฝายมีชีวิต”โดยจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ นักศึกษาสถาบันสร้างชาติรุ่นที่ ๗เพื่อคืนชีวิตให้ชุมชน

/สุพจน์ วรสหวัฒน์จ.ราชบุรี/รายงาน

เมื่อวันที่19พ.ค.2562เวลา9.00 น. ณ วัดหทัยนเรศวร์ ต.ห้วยยางโทน อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี
นายประทีป นทีทวีวัฒน์ นายอำเภอปากท่อจ.ราชบุรีเป็นประธานเปิดโครงการสืบสานปณิธาน ร.๙ สานต่อในรัชการที่๑๐ “สร้างฝายมีชีวิต”โดยจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ นักศึกษาสถาบันสร้างชาติรุ่นที่ ๗(พระอธิการมานะ ฐานธัมโม)เจ้าอาวาส วัดหทัยนเรศวร์ ต.ห้วยยางโทน อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี โดยมีนายสุชิน พลขันธ์ กำนัน ต.ห้วยยางโทน ประธานเครือข่ายป่าชุมชนจังหวัดราชบุรี ให้การต้อนรับและกล่าวรายงานความเป็นมาของโครงการและวัตถุประสงค์ ณ ป่าชุมชนบ้านพุเกตุเนื้อที่ ๓,๒๓๗ ไร่

โดยมีเทือกเขา หนองกระลุ่ม เทือกเขาพุตาแพ ล้อมลอบบริเวณพื้นที่ป่าดังกล่าว เมื่ิอมีฝนตกลงมาน้ำจากเทื่อกเขาทั้ง๒ จะไหลลงมาบันจบกัน จึงเกิดเป็นลำห้วยลิ้นช้าง ในป่าชุมชนบ้านพุเกตุ หมู่ที่๔ ตำบลห้วยยางโทน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โดยมีข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ ทั่วประเทศ ครูผู้ควบคุมการสร้างฝาย CSR ราชบุรี วิทยาลัยธุรกิจการท่องเที่ยว นักเรียนในพื้นที่จาก รร. พุเกตุ รร.ห้วยยางโทน รร.บ้านหัวเขาจีน รร. บัานหนองลังกา พ่อค้าประชาชนจำนวน ๕๐๐ กว่าคน

ซึ่งโครงการดังกล่าวมีจุดประสงค์ เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานต่างๆได้เข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรน้ำป่าไม้ โดยใช้หลักการทรงงานศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผู้มาร่วมกิจกรรมพร้อมอุปกรณ์ จอบ เสียม พั้ว เลื่อย มีด ขวาน ร่วมกันตัดไม้ใผ่เสี้ยมไม้ให้ปลายแหลมเพื่อนำไปตอกเป็นเสา(นายอำเภอลงมือผูกเชือกเองและตอกเสาเอง ใส่หมวกสีฟ้าติดป้ายจิตอาสาที่หน้าอก)และผูกไม้ใผ่ทำเป็นฝายขึ้นโครงนำดินใส่กระสอบวางลงตามช่องสันฝายกว้างประมาณ5เมตรความยาวประมาณ20เมตร

มีหูช้าง2ข้างมีฐานฝายที่ลดหลั่นลงไปจากหน้าฝายเพื่อลดแรงปะทะของน้ำกันฝายพังทลายและจะปลูกต้นไทรไว้บนสันเขื่อนเมื่อต้นไทรโต รากไทรก็จะเกาะเกี่ยวเป็นตัวยึดฝายป้องกันดินพังทลายลงกลายเป็นฝายที่มีชีวิตต่อไป ฝายดังกล่าวสร้างด้วยเงินงบประมาณของกองทุนกำนันผู้ใหญบ้านที่มี นายสุชิน พลขันธ์ ประธานกำนันอำเภอปากท่อและประธานเครือข่ายป่าชุมชนจังหวัดราชบุรีและชาวบ้าน

ร่วมด้วยช่วยกันสร้างฝ่ายมีชีวิตขึ้นมาโดยไม่ต้องใช้เงินงบประมาณของทางราชการเลย ประโยชน์ที่ได้ช่วยกักเก็บน้ำ และชลอการไหลของน้ำ และลดการกัดเสาะพังทลายของหน้าดิน เพิ่มความชุมชื่นของพื้นดินทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตงอกงาม ฝายมีชีวิตไม่เพียงแค่คืนฝืนป่าและระบบนิเวศน์ให้ป่าแต่ยังคืนชีวิตให้ชุมชน เพราะฝายจะเกิดขึ้นได้ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชนที่จะช่วยกันสร้างช่วยกันดูแลให้ป่าที่มีชีวิตต่อไป

สุพจน์ วรสหวัฒน์จ.ราชบุรี/รายงาน