คัดเลือกศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต้นแบบ

อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
นายสำราญ แสงสงค์ ข่าว
คัดเลือกศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต้นแบบ

19 กุมภาพันธ์ 2565
กรมการปกครองได้ทำการขับเคลื่อนขยายผล ศูนย์การเรียนรู้อันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอ “หนึ่งจังหวัดหนึ่งศูนย์การเรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต้นแบบ ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยทางจังหวัดเชียงใหม่ได้จัดคัดเลือก 3 อำเภอ อำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทอง อำเภอไชยปราการ เพื่อขับเคลื่อนขยายผลศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ เพื่อคัดเลือกเอา1 อำเภอที่มีการจัดการศูนย์เรียนรู้ที่มีผลดำเนินงานเป็นรูปธรรมเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในพื้นที่ และจัดคณะกรรมการจากจังหวัดเชียงใหม่ เข้าทำการตรวจประเมิน ในวันนี้ ทางนายถนอม กุยแก้ว ประธานกรรมการตรวจประเมิน พร้อมคณะ ได้เข้าทำการตรวจที่บ้านสินชัย หมู่ที่ 6 ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพระครูสถิตธรรมาภิรักษ์ เจ้าคณะอำเภอไชยปราการ พร้อม นายวัชระ เทพกัน นายอำเภอไชยปราการ และ นายกิตติพงศ์ อภิฤดีเพชร ผู้ใหญ่บ้านสินชัยหมู่ที่ 6 ต้อนรับและรายงานการดำเนินงานซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการดำเนินงานมาโดยตลอดและเป็นไปตามธรรมชาติที่มีชาวบ้านได้น้อมนำเอาแนวพระราชดำริมาใช้ในการดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ประจำวัน ทั้งการประกอบอาชีพส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกรรมการปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชเศรษฐกิจที่ใช้แนวทางอินทรีย์เป็นหลักโดยมีโครงการหลวงดอยอ่างขางมาเป็นผู้ชี้แนะในการทำพืชอินทรีย์ตามแนวทางพระราชดำริ การอยู่รวมกัน ที่มีหลายชนเผ่า

ลาหู่ ไทยใหญ่ จีนยูนาน คนพื้นเมือง นับถือศาสนาถึง 3 ศาสนา แต่อยู่ร่วมกัน อย่างมีความสุขและสามัคคี สามารถร่วมงานประเพณีที่ต่างกันได้อย่างไม่มีปัญหาไดได และที่สำคัญการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่เริ่มนำพืชเศรษฐกิจที่เป็นไม้ยืนต้นเช่นต้นอาโวกาโด้มาปลูกทดแทนพื้นที่ที่ว่างเปล่าแทนต้นไม้ในป่า และปลูกต้นกาแฟในแปลงต้นไม้หลัก งดการเผา หรือการตัดไม้ทำลายป่า ระบบน้ำประปาภูเขาที่มีน้ำใช้ตลอดปี มีการปลูกพืชผักเพื่อบริโภคและจำหน่ายเป็นรายได้หลักตลอดปี มีไม้ผลอาโวกาโด้ที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านอยู่เลี้ยงครอบครัวได้สามารถส่งเสียลูกเรียนจบปริญญาตรีได้และเด็กๆยังสามารถช่วยพ่อแม่ต่อยอดต้นอาโวกาโด้พันธ์ดีเพื่อปลูกทดแทนต้นเก่าและยังจำหน่ายได้อีก และยังมีการปลูก ลิ้นจี่ การปลูกมะม่วง ในแปลงเก่าและเริ่มมีการปลูกไม้ยืนต้นเข้าแทรกเพื่อความยั่งยืนของป่าไม้ และที่สำคัญทางหมู่บ้านยังอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีทุกชนเผ่าเอาไว้และสืบต่อลูกหลานต่อไปและยังมีเส้นทางท่องเที่ยวที่มีต้นซากุระป่าตามแนวถนนสองข้างทาง หนึ่งแสนต้นที่ชาวบ้านเยาวชนร่วมปลูกเมื่อ 5 ปีก่อนต่อไปจะเป็นเส้นทางประวัติศาสตร์แห่งการท่องเที่ยว ทางคณะกรรมการได้รับฟังบรรยายแล้วสอบถามตั้งคำถามให้ที่เกี่ยวข้องตอบจนเป็นที่พอใจ เพื่อจะนำผลการตรวจประเมินเข้าพิจารณาเพื่อเลือกเอา1เดี่ยวมาเป็น ศูนย์เรียนรู้ของจังหวัดเชียงใหม่ รอฟังผลการประเมินต่อไปซึ่งทางจังหวัดจะประกาศให้ทราบอีกครั้ง