ชุมชนกะเหรี่ยงดอยช้างป่าแป๋ จังหวัดลำพูน ปิดชุมชน ห้ามบุคคลภายนอกเข้า ป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19

ชุมชนกะเหรี่ยงดอยช้างป่าแป๋ จังหวัดลำพูน ปิดชุมชน ห้ามบุคคลภายนอกเข้า ป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19

วันนี้ที่ 17 มีนาคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าได้รับแจ้งจากประชาชนในหมู่บ้านชุมชนกะเหรี่ยงดอยช้างป่าแป๋ จังหวัดลำพูน ว่ามีการปิดชุมชน ห้ามบุคคลภายนอกเข้า ป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19 หลังจากสถานการณ์เริ่มรุ่นแรง ชุมชนกะเหรี่ยงดอยช้างป่าแป๋ จังหวัดลำพูน จึงมีมติในประชุมหมู่บ้าน ให้มีการปิดชุมชน ห้ามบุคคลภายนอกเข้า ป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19

ถือได้ว่าชุมชนดอยช้างป่าแป๋ (ต่าหลู่เก่อชอ) เป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์การก่อตั้งมายาวนานไม่ต่ำกว่า 219 ปีมาแล้ว จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าหลายคนระบุว่า ชุมชนน่าจะก่อตั้งมาพร้อมกับเมืองหริภุญชัย (ลำพูนในปัจจุบัน) ในอดีตชุมชนดอยช้างป่าแป๋ไม่ได้ตั้งในบริเวณที่อยู่ปัจจุบัน แต่อยู่บริเวณใกล้เคียงนี้หลายจุด โดยกะเหรี่ยงเรียกกันว่า “เดลอ” ตามตำนานเล่ากันว่า ครั้งหนึ่งมีปราชญ์นามว่า “พือพากานา” ได้เดินสำรวจหาสถานที่จัดตั้งหมู่บ้าน เขาได้เดินขึ้นไปบนดอยช้างแล้วมองไปรอบๆ ทิศ แต่ละที่ที่กวาดสายตามองเห็นเต็มไปด้วยก้อนหินและหน้าผาสูง มีเพียงสถานที่บริเวณขุนห้วยนามว่า “แม่สิคี” เท่านั้นที่เหมาะแก่การอยู่อาศัย การก่อตั้งชุมชนจึงเกิดขึ้นในบริเวณนั้น

ทั้งยังมีชุมชนอยู่อาศัยระยะหนึ่งเกิดเหตุการณ์ประหลาด หญิงตั้งครรภ์กลับคลอดลูกยาก ขณะที่เด็กทารกเกิดใหม่เสียชีวิตไปหลายคน ชุมชนจึงเชื่อว่าเจ้าป่าเจ้าเขา “ก่อฉู่” หรือเจ้าที่แรง ซึ่งตามความเชื่อของปราชญ์และผู้เฒ่า หากเกิดเหตุการณ์เหนือการจัดการดูแลของผู้นำในชุมชนจะต้องมีการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้ผู้คนได้อยู่อย่างสงบสุข จึงทำให้ผู้นำตัดสินใจย้ายหมู่บ้านใหม่ไปไม่ไกลจากที่เดิมนัก คือบริเวณ “หย่าลิเด”ชาวบ้านปักหลักอยู่อาศัยในบริเวณหย่าลิเดระยะหนึ่งได้พบกับพระพุทธรูปสีเขียวมรกตใกล้ๆ หมู่บ้านซึ่งเชื่อว่าสถานที่แห่งนี้เป็นกุฏิเดิมของพระ ต่อมาเกิดเหตุการณ์เด็กเสียชีวิตอีก บ้างก็ร้องไห้จนเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นการมาแย่งที่อยู่ของพระเก่า จึงย้ายหมู่บ้านไปอยู่แห่งใหม่ชื่อว่า “แดลอปู” ก่อนย้ายชุมชนอีกครั้งไปที่ “เชอโกล๊ะ” ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่มาถึงปัจจุบัน
บ้านเชอโกล๊ะ ปัจจุบันเรียกว่า “ป่าแป๋” คนทั่วไปรู้จักชุมชนนี้ในนาม “ดอยจ้ะโข่” ที่แปลว่า ดอยหรือภูเขาของช้าง

ในการก่อตั้งหมู่บ้านนั้น ชาวกะเหรี่ยงมีความเชื่อในการตั้งศาลเจ้าที่ เพื่อให้ปกปักรักษาหมู่บ้านไว้ 3 จุด มีปราชญ์ผู้ประกอบพิธีกรรมตั้งศาลคนแรกชื่อ “พาดิดะ” ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นผู้ปกครองคนแรกในการดูแลจัดการหมู่บ้านแห่งนี้ โดยขณะนั้นมีประมาณ 20 หลังคาเรือน เมื่อเสียชีวิตได้มีน้องชายร่วมสายโลหิตสืบทอดการปกครองชื่อว่า “บุญเป็ง” ยาวนานกว่า 20 ปี ทำหน้าที่ทั้งการปกครองให้ชุมชนมีความสงบสุข และผู้นำทางจารีตประเพณี ผู้นำทางพิธีกรรมความเชื่อ
หลังจากนั้นได้มีผู้ปกครองต่อมาเรื่อยๆจนกระทั่งมีการแยกออกเป็น 2 หมู่บ้าน และมีผู้นำชุมชนหรือผู้ปกครองเพิ่มขึ้นอีก 2 คนด้วยกัน หมู่บ้านบ้านดอยช้างป่าแป๋ปัจจุบันมีการปกครองแบบผู้นำธรรมชาติควบคู่กับการปกครองแบบ “ผู้ใหญ่บ้าน” โดยมีการติดต่อประสานกับหน่วยงานราชการมากขึ้น ทางชาวบ้านก็เกรงกล้วโรคภัยต่างๆจะเข้าไปยังชุมชนเลยปิดชุมชนห้ามเข้า หลังจากสถานที่แห่งนี้ถือได้ว่าเป็นอีกสถานที่ที่สามารถปลูกกาแฟพันธ์ดีของจังหวัดลำพูนและยังอร่อยอีกด้วย

………………………
กฤตยชญ์ พิงคะสัน ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดลำพูน รายงาน