ร้อยเอ็ด เปิดโครงการลงนามขับเคลื่อนสะพานเชื่อมโยงสพฐ.กับสอศ.เพื่อเพิ่มทางเลือกวิชาชีพหลากหลาย /PALANCHAI TV/ชมรมสื่อออนไลน์IT/nuk-0817082129-

ร้อยเอ็ด เปิดโครงการลงนามขับเคลื่อนสะพานเชื่อมโยงการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือสพฐ.กับการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาหรือสอศ.เพื่อเพิ่มทางเลือกวิชาชีพหลากหลาย

/PALANCHAI TV/ชมรมสื่อออนไลน์IT/nuk-0817082129-


PALANCHAI TVชมรมสื่อออนไลน์ITลงนามMOUสพฐ-อาชีวศึกษาเพิ่มทางเลือกศึกษาอาชีพ/สมนึก-ประธาน/0817082129-ข่าว

เมื่อเช้าวันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2562 เวลา 9.00 น.ณ ห้องประชุมวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ดร.ครรชิต วรรณชาศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานในพิธี โครงการการขับเคลื่อนสะพานเชื่อมโยงการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือสพฐ. กับการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาหรือสอศ.จังหวัดร้อยเอ็ด โดยการดำเนินงานของ นายประจวบ จันทร์วงษ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด ประธานอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ดและคณะ ประกอบด้วย สพมเขต 27 สพปเขต 1 เขต 2 เขต 3 และ ผู้บริหาร สถานศึกษาสังกัดสพสและสวพ เพื่อลงนามความร่วมมือ เพื่อบูรณาการการทำงานเชื่อมโยง การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการจัดการศึกษาอาชีวศึกษา โดยจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับผู้เรียน ได้มีทางเลือกทางการศึกษาและวิชาชีพที่หลากหลาย

ผู้ที่ร่วมลงนามในวันนี้มีผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสอศ.จังหวัดร้อยเอ็ดและสังกัดสพฐ.จังหวัดร้อยเอ็ดเข้าร่วมได้แก่ 1 สังกัดอาชีวศึกษาร้อยเอ็ดวิทยาลัยจำนวน 20 คน 2 สังกัดสพมเขต 27 40 โรงเรียนจำนวน 80 คน 3 สังกัดสพปเขต 1 โรงเรียนจำนวน 7 คนปีสังกัดสพปเขต 2 7 โรงเรียนจำนวน 7 คน 5 สังกัดสพปเขต 3 2 โรงเรียนจำนวน 6 คนรวมจำนวนโรงเรียน 68 แห่งรวม 120 คน

นายประจวบ จันทรวงษ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด ประธานอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวรายงานว่า.-สืบเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือสพฐ และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาหรือ สอศ. เพื่อ ลงนาม ความร่วมมือเพื่อบูรณาการการทำงานเชื่อมโยงการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการจัดการอาชีวศึกษาเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2562 เพื่อให้การจัดการศึกษาระหว่าง 2 หน่วยงานมีความเชื่อมโยงกันทั้งด้านการบริหารข้อมูลการเรียนการสอนการแนะแนวการศึกษาสายอาชีพการจัดทวิศึกษาให้มีการบูรณาการเชิงบริหารและบูรณาการการเรียนการสอน

ซึ่งการศึกษาถือเป็นหัวใจสำคัญขึ้นของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ให้หลุดพ้นจากการเป็นประเทศรายได้ปานกลาง ลดความเหลื่อมล้ำ ลดความไม่สมดุลการศึกษา จะเป็นหลักในการนำประเทศไทย เข้าสู่การเป็นประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และนโยบายประเทศ 4.0 การเชื่อมโยงทางการศึกษาจะเพิ่มโอกาสให้ผู้เรียน ได้มีทางเลือกทางการศึกษาและวิชาชีพที่หลากหลาย

ดังนั้น อาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด จึงได้จัดทำโครงการขับเคลื่อนสะพานเชื่อมโยงการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการจัดการศึกษาอาชีวศึกษา มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้ตรงกันเกี่ยวกับการเชื่อมโยงแก่ผู้บริหารสถานศึกษาทั้ง 2 หน่วยงาน 2 เพื่อลงนามความร่วมมือ MOU การจัดการศึกษาร่วมกันระดับจังหวัด 3 เพื่อหาแนวทางเชื่อมโยงดำเนินงานตามนโยบายให้ประสบความสำเร็จ

ดร.ครรชิต วรรณชา ศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ดกล่าวเปิดว่า.-เท่าที่ได้พูดคุยกันจะเห็นว่านักเรียนส่วนใหญ่จะไปเรียนสายสามัญมากกว่า และหนทางประกอบอาชีพจะต้องใช้เวลานาน อาจเกี่ยวข้องกับค่านิยม ส่วนทางด้านสายอาชีวศึกษามีจำนวนนักเรียนสนใจเรียนน้อย ที้งที่ เป็นส่วนการศึกษาที่ สามารถประกอบอาชีพ มีรายได้ในงานส่วนราชการ และเอกชน หรือประกอบอาชีพด้วยตนเอง แต่ปรากฏว่ามีนักเรียนให้ความสนใจเรียนน้อย

ที่สำคัญ อยากจะชี้ประเด็นให้เห็น ว่าส่วนนึงที่จะสร้าง ความสนใจ ให้นักเรียนเข้ามาเรียนต่อในสายชีวะนอก จากการลงนาม MOU ในครั้งนี้แล้ว สิ่งสำคัญก็คืออยู่ที่การสร้างทัศนคติ ระหว่างผู้ปกครองกับผู้ปกครอง ให้เปลี่ยนจาก ความเข้าใจทางด้านการทำงานทางด้านส่วนราชการเป็นเจ้าคนนายคน ให้หันมาพึ่งพาตนเองในการประกอบอาชีพ ทั้งส่วนราชการ เอกชน บริษัทห้างร้านต่างๆ หรือตัวเองได้และมีรายได้ที่ดี จากที่นักเรียนที่จบสายอาชีวะไปแล้วจะสามารถมีรายได้ ช่วยเหลือตัวเองและครอบครัวได้ดี ไม่เป็นหนี้เป็นสิน สามารถดำรงชีวิตได้อย่าง ดีมีคุณภาพ

/PALANCHAI TV/ชมรมสื่อออนไลน์IT/สมนึก บุญศรี/0817082129-รายงาน