สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 5 ประชุมการขับเคลื่อนโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษารุ่นที่ 1 และ 2 มีโอกาสที่จะนำเสนอความคืบหน้าการดำเนินงาน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา การกระจายอำนาจ สามารถ มีความรู้เท่าทันโลก ปรับตามความต้องการของชุมชนแต่ละพื้นที่ต่อไป

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 5 ประชุมการขับเคลื่อนโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษารุ่นที่ 1 และ 2 มีโอกาสที่จะนำเสนอความคืบหน้าการดำเนินงาน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา การกระจายอำนาจ สามารถ มีความรู้เท่าทันโลก ปรับตามความต้องการของชุมชนแต่ละพื้นที่ต่อไป

เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 63 ณ ห้องประชุมออบหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 5 อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ นายพัฒนพงศ์ พวงทอง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 เป็นประธานเปิดการประชุมการขับเคลื่อนโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษารุ่นที่ 1 และ 2 โดยมีตัวแทนจากโรงเรียนต่าง ๆ ในสันกัด เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต.5 ได้มีผู้ข้าร่วมโครงการดังกว่าจำนวนทั้งหมด 13 โรงเรียน โดยแบ่งออกเป็นสองรุ่น ดังนี้ ผู้เข้าประชุมรุ่นที่ 1 จำนวน 9 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านพุย โรงเรียนบ้านห้วยปูลิง โรงเรียนบ้านมูเซอ โรงเรียนบ้านห้วยน้ำขาว โรงเรียนบ้านสบลาน โรงเรียนบ้านขุนแม่ตื่นน้อย โรงเรียนบ้านยางเปา โรงเรียนบ้านตุงติง และโรงเรียนบ้านห่างหลวง รุ่นที่ 2 จำนวน 4 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านยางครก โรงเรียนบ้านห้วยไม้หก โรงเรียนบ้านตาลเหนือ และ โรงเรียนบ้านแม่บวน

นายพัฒนพงศ์ พวงทอง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 เปิดเผยว่า การจัดประชุมการขับเคลื่อนโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในครั้งนี้ได้มีผู้บริหาร คณะครู และศึกษานิเทศก์ร่วมขับเคลื่อนโครงการ ในครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ คณะคุณครูผู้หาร ผู้สอน ในด้านต่าง ๆ มีโอกาสที่จะนำเสนอความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา การกระจายอำนาจและให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพในการพัฒนานวัตกรรมและการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและคุณภาพของผู้เรียน
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพื้นที่นวัตกรรมเป็นการสร้างและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นการจัดการศึกษาให้เหมาะสมตามสภาพบริบทของโรงเรียน และความต้องการของชุมชน และเพื่อให้นักเรียนมีความใฝ่รู้ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถอยู่และทำงานร่วมกับผู้อื่นซึ่งมีความแตกต่างหลากหลายได้ มีความรู้เท่าทันโลก และมีทักษะในการประกอบอาชีพตามความถนัดของผู้เรียนแต่ละคน และตามความต้องการของชุมชนแต่ละพื้นที่ต่อไป