จ.ราชบุรี/พัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรีคัดเลือกช่างทอผ้า ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้าน(ไท-ยวน)

จ.ราชบุรี/พัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรีคัดเลือกช่างทอผ้า ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้าน(ไท-ยวน) วัดนาหนอง จังหวัดราชบุรี เป็นปลื้ม หลังกรมการพัฒนาชุมชนคัดเลือกศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านราชบุรี(ไท-ยวน) วัดนาหนอง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ในการเสริมสร้างภาพลักษณ์กรมการพัฒนาชุมชนโดยการจัดทำคลิปประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโทรทัศน์ “โครงการสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน”

ซึ่งดำเนินการถ่ายทำคลิปประชาสัมพันธ์ฯในวันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมาโดยมีนางยุพิน เศรษฐศักดาศิริ พัฒนาการจังหวัดราชบุรี พร้อมด้วย ประธานและสมาชิกกลุ่มศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านราชบุรี(ไท-ยวน) วัดนาหนอง เข้าร่วมการถ่ายทำคลิปประชาสัมพันธ์ฯ และนำเสนอข้อมูล ตั้งแต่ประว้ติความเป็นมาของผ้าชาติพันธ์ไท-ยวนในอดีตจนถึงปัจจุบัน การรักษาอัตลักษณ์ชุมชน การคิดค้นสืบทอดลายผ้าสมัยโบราณ และการพัฒนาลายผ้าให้มีความโดดเด่นตรงตามความต้องการของตลาดปัจจุบัน รวมถึงการสนับสนุนของกรมการพัฒนาชุมชนโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรี แบบครบวงจร ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ สามารถสร้างรายได้ให้สมาชิกกลุ่ม และยังคงสืบสานอัตลักษณ์ของผ้าให้อยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนในชุมชนสืบไป
โดยการคลิปประชาสัมพันธ์ฯ นี้ถือเป็นการเผยแพร่วิถีชีวิต วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ยวน วัดนาหนอง จ.ราชบุรี ที่มีความผูกพันธ์กับการทอผ้าจกมาอย่างยาวนาน กว่าร้อยปี รวมไปถึงการมีส่วนร่วมของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรีที่ให้การสนับสนุนและผลักดันกลุ่มทอผ้าจกในการดำเนินกิจกรรมต่างๆไม่ว่าจะเป็น การเข้าร่วมกิจกรรมอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP, การยกระดับผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ในการเข้าร่วมการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ของกรมการพัฒนาชุมชน เป็นต้น
ทั้งนี้ ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ ประธานและสมาชิกกลุ่ม จากศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านราชบุรี วัดนาหนอง จ.ราชบุรี ในการอำนวยความสะดวกสำหรับการถ่ายทำคลิปประชาสัมพันธ์ฯ ให้ดำเนินการสำเร็จลุล่วงด้วยดี

ประวัติความเป็นมาศูนย์หัตถกรรมทอผ้าพื้นบ้านราชบุรีตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดนาหนอง ตำบลดอนแร่ อำเภอเมืองราชบุรี
โดยเริ่มสร้างศูนย์หัตถกรรมทอผ้าเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยงบประมาณโครงการสร้างสรรค์เมืองราชบุรี โดยมี ม.ร.ว.กำลูนเทพ เทวกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีในสมัยนั้น ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ยวนซึ่งมีประเพณีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ในเรื่องการทอผ้าอยู่แล้ว หลังจากว่างเว้นการทำการเกษตรจึงได้รวมตัวกันทอผ้า และมีวัดนาหนองเป็นศูนย์รวมจิตใจ ต่อมาจึงเป็นแหล่งผลิตผ้าจกดอนแร่เป็นผ้าจกที่มีลายที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองและมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของเมืองไทย
ในการดำเนินงานในครั้งนี้ได้ถือตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

สุพจน์ วรสหวัฒน์/จ.ราชบุรี