เครือข่ายป.ป.ช.ร้อยเอ็ดลงพื้นที่อ.โพนทองเพื่อติดตามภารกิจการป้องปรามการทุจริตร่วมตรวจสอบการสร้างฝายบึงมะอึพังทลายใช้การไม่ได้

เครือข่ายป.ป.ช.ร้อยเอ็ดลงพื้นที่อ.โพนทองเพื่อติดตามภารกิจการป้องปรามการทุจริตร่วมตรวจสอบการสร้างฝายบึงมะอึพังทลายใช้การไม่ได้

/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/-ข่าว

เมื่อวันนี้ 8 ส.ค. 2565 ตั้งแต่เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมอำเภอโพนทอง จ.ร้อยเอ็ด โดยความอนุเคราะห์ ของ นายอาณพ ศรีบุญลือ นอภ.โพนทอง ดร.อุปกรณ์ ดีเสมอ ประธานคณะกรรมการเครือข่ายป.ป.ช.ภาคประชาสังคม ภาคอีสาน จ.ร้อยเอ็ด นำคณะกรรมการประกอบด้วย นายประดิษฐ์ ศรีประสิทธิ์ อดีตนายอำเภอฯ ดร.โกวิท อ่อนประทุม อ.สมนึก บุญศรี ลงพื้นที่อ.โพนทอง เพื่อติดตามภารกิจในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในพื้นที่ หลังผ่านการอบรมผู้นำต้นแบบ150คนวันที่ 29-30 เม.ย. และแกนนำชุมชนต้นแบบ300คนในวันที่ 25 พ.ค. 2565 ที่ อ.โพนทองสมาชิก 36 คน
โดยกิจกรรมประกอบด้วยการแบ่งกลุ่มเพื่อทำความเข้าใจในภารกิจ ที่สำคัญคือการตรวจสอบความโปร่งใสงานองค์กรและภาครัฐในพื้นที่ ตามที่สมาชิกเครือข่ายฯร้องเรียน เพื่อรายงานผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไป กิจกรรมไม่ใช่การจับผิด แต่เป็นการแนะนำ ให้ข้อสังเกต เพื่อให้งานเป็นไปตามความต้องการของชุมชน
การติดตามภารกิจวันนี้ 8 ส.ค. 2565 คือ การตรวจสอบดูอ่างเก็บน้ำบึงมะอึ ที่สมาชิกฯร้องเรียนฝายเก็บน้ำพังทะลายลงมา หลังการสร้างใหม่เมื่อไม่นานมานี้

โดยที่ นายพิเชษฐ์ โพดาพล รองปลัด อบต.สระนกแก้ว แจ้งว่า อ่างเก็บน้ำบึงมะอึ กรมชลประทานสร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 ความจุ 1,005,000 ลบ.เมตร เพื่อใช้ในบ้านบึงมะอึ และ บ้านโนนแก้ว ต.สระนกแก้ว อ.โพนทอง ต่อมามีการพังทลายลงมา ใช้ประโยชน์ไม่ได้ และล่าสุดได้รับการช่วยเหลือจากจังหวัดและชุมชน สร้างฝายกั้นน้ำขึ้นมาใหม่ หวังใช้ทันฤดูฝนแต่ก็ทานน้ำฝนไม่ได้พังทลายลงมาอีก สร้างความเดือดร้อนแก่ชาวบ้านทั้งการสัญจร การเกษตร การดำรงชีพอื่นๆ ซึ่งคณะนี้ทาง อบต.ได้ยื่นเรื่องเร่งด่วนเพื่อขอความช่วยเหลือจากทางจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ดร.อุปกรณ์ อีเสมอ ประธานคณะกรรมการเครือข่ายป.ป.ช.ภาคประชาสังคม ภาคอีสาน จ.ร้อยเอ็ด กล่าวว่า จากการติดตามภารกิจในวันนี้ สมาชิกฯได้ร้องเรียนอ่างเก็บน้ำบึงมะอึดังกล่าว จึงนำทีมงานลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบความเป็นจริง พบว่าฝายบึงมะอึเกิดพังทะลายลงมา สัญจรไปมาไม่ได้ ใช้เพื่อการเกษตรไม่ได้ สร้างความเดือดร้อนใน5หมู่บ้าน และที่สำคัญคือ เป็นการไม่ระบายจากแม่น้ำยัง เพื่อไม่ให้ท่วมพื้นที่ สร้างความเสียหายแก่การเกษตรนาข้าว อย่างมากมาย จึงของเรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กรมชลประทาน จังหวัด อำเภอ อบจ. อบต.และชุมชน เร่งหาทางช่วยเหลือแก้ไขปัญหากันอีกครั้งหนึ่ง

/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/0885730542-ข่าว