กองทัพเรือโดยกรมกิจการพลเรือนทหารเรือนำคณะสำรวจพันธุกรรมพืชจากยอดเขาถึงใต้ทะเล ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

กองทัพเรือโดยกรมกิจการพลเรือนทหารเรือนำคณะสำรวจพันธุกรรมพืชจากยอดเขาถึงใต้ทะเล
ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

ในวันนี้ 6 มิ.ย.62 พลเรือโทกาญจน์ ดีอุบล เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือในฐานะเลขานุการคณะกรรมการดำเนินงาน โครงการอนุรักษ์พันธุ
กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี -กองทัพเรือ (จก.กพร.ทร/เลขานุการ อพ.สธ.- ทร.) นำคณะของกองทัพเรือ ได้แก่ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ กรมช่างโยธาทหารเรือ กรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ และกรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ ร่วมกับคณะกรรมการบริหาร อพ.สธ. และคณะปฏิบัติงานด้านวิทยาการ ประกอบด้วย อาจารย์จากมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิท
ยาลัย ม.เกษตรศาสตร์ ม.บูรพา และองค์การพิพิธ
ภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เข้าร่วมสำรวจพันธุ
กรรมพืช ตรวจวิเคราะห์คุณภาพดินและน้ำทั้งบนเกาะและในทะเล ตั้งแต่ใต้ทะเลจนถึงยอดเขา เพื่อเก็บรวบรวมผลการวิเคราะห์ไว้เป็นฐานข้อมูล โดยเฉพาะปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญพันธุ์ของพืชและสัตว์ เพื่อให้ส่วนต่างๆ รวมทั้งนักวิจัยนำไปใช้งาน
นอกจากนี้ยังได้มีการเก็บตัวอย่างพืชหายากประจำถิ่นบางชนิดมาขยายพันธุ์ โดยใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในห้องปฏิบัติการ และทำการอนุบาลในโรงเรือนของกรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ เมื่อได้ต้นพันธุ์ที่มีอายุตามเกณฑ์แล้วก็จะนำไปปลูกคืนถิ่นในสถานที่ที่เหมาะสมบนเกาะต่างๆ ตัวอย่างหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการขยายพันธุ์อย่างเป็นรูปธรรมมาแล้ว ได้แก่ ว่านเพชรหึง ซึ่งได้แจกจ่ายต้นพันธุ์ให้กับหน่วยงานต่างๆ และประชาชนนำไปขยายพันธุ์ต่อ และได้นำไปปลูกคืนถิ่นในหลายๆ เกาะ เช่น เกาะพระทอง เกาะช้าง และเกาะแสมสาร เป็นต้น
การดำเนินโครงการดังกล่าว สืบเนื่องจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงดำเนินงานอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เพื่อสืบสานพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหา
ราช บรมนาถบพิตร เรื่องการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ โดยทรงจัดตั้ง“ โครง
การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราช

ดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)” เมื่อปี พ.ศ.2536 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของพันธุกรรมพืชและทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่ในประเทศ ก่อให้เกิดกิจกรรมการร่วมคิดร่วมปฏิบัติที่นำประโยชน์มาสู่ประชาชน
พลเรือโทกาญจน์ ดีอุบล กล่าวว่า การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล เป็นภารกิจหนึ่งที่กองทัพเรือดำเนินงานเพื่อความมั่นคงของประเทศ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานแนวพระราชดำริ “ให้สำรวจจากยอดเขาถึงใต้ทะเล” ระหว่างวันที่ 3-9 มิ.ย.62 ซึ่งการสำรวจเกาะกูด จังหวัดตราด ในครั้งนี้ เป็นการสำรวจทรัพยากรกายภาพและชีว
ภาพ (สำรวจใหญ่) ร่วมกับคณะปฏิบัติงานวิทยา
การ อพ.สธ.-ทร.
โดยจะเก็บตัวอย่างพันธุกรรมไปศึกษาวิเคราะห์ที่ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย ตั้งอยู่ริมทะเลบริเวณเขาหมาจอ ตำบลแสมสาร อ.สัต
หีบ จ.ชลบุรี ตรงข้ามเกาะแสมสาร เพื่อเป็นประ
โยชน์ต่อการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเล
โดยการนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเยี่ยมชม อพ.สธ.-ทร. เผยแพร่ออกอากาศทางสื่อโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และสื่อออนไลน์ ปลูกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์แก่เยาวชน และประชาชนโดยทั่วไปในโอกาสเดียวกันนี้ด้วย เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ได้กล่าวในตอนท้าย

ภาพ/ข่าว นิราช ทิพย์ศรี /นันทพล ทิพย์ศรี อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี 0909535645
นายพรเทพ เขม้นเขตวิทย์ รายงานจากศูนย์ข่าวภาคตะวันออก