นายณัฐสิทธิ์ ธงยี่สิบสอง และนางนิภา แก้วประทีป ศึกษานิเทศก์กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 ได้จัดกิจกรรมเข้าค่ายโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี”

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 นำโดยนายณัฐสิทธิ์ ธงยี่สิบสอง และนางนิภา แก้วประทีป ศึกษานิเทศก์กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 ได้จัดกิจกรรมเข้าค่ายโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี”

ประจำปี 2565 จำนวน 2 รุ่น โดยรุ่นที่ 1 ในวันที่ 27 – 29 กรกฎาคม 2565 ณ ศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ กรมป่าไม้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีตัวแทนนักเรียนจากโรงเรียนท่าศาลา โรงเรียนวัดห้วยแก้ว โรงเรียนวัดเมืองสาตร โรงเรียนชลประทานผาแตก โรงเรียนบ้านโป่งน้อย โรงเรียนแม่ฮ้อยเงิน โรงเรียนวัดดอนจั่น และโรงเรียนพุทธิโศภณ จำนวน 60 คน และรุ่นที่ 2 ในวันที่ 30 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2565 ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า เชิงดอยสุเทพ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยมีตัวแทนนักเรียนจากโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 1 โรงเรียนวัดช่างเคี่ยน โรงเรียนวัดป่าตัน โรงเรียนบ้านเชิงดอยสุเทพ โรงเรียนบ้านลวงเหนือโรงเรียนวัดสวนดอก โรงเรียนวัดล้านตอง และโรงเรียนวัดเสาหิน จำนวน 60 คน

โดยมีหน่วยงานที่เข้าร่วมให้ความรู้แก่เยาวชนคือ มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เชียงใหม่ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณที่ 9 สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯเชียงใหม่ สถานีพัฒนาที่ดินเชียงใหม่ และสวนสัตว์เชียงใหม่ ตามหลักสูตรการอบรมโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี”

เพื่อให้เยาวชนได้ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ที่พระราชทานโครงการพระราชดำริมากมาย ล้วนเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนทั้งสิ้น มีความเข้มแข็ง สามารถดูแลและพัฒนาตนเองได้ และมีศักยภาพในการเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ อันเป็นแนวทางสู่ความมั่นคงและความยั่งยืน ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามปรัชญา “เศรษญกิจพอเพียง” เข้าใจประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นรากฐานของประเทศ ที่จะต้องช่วยกันฟื้นฟูและรักษาให้มั่นคงและยั่งยืน เพื่ออนาคตของตนเอง ลูกหลาน ตลอดจนถึงโลกนี้ ได้รื้อฟื้นวิถีการดำรงชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาที่ดีงามของท้องถิ่น มีความรู้และทักษะพื้นฐานการเกษตรยั่งยืนในการผลิตอาหารเพื่อการบริโภคและอาชีพ ในการดำรงชีวิต เช่น การแปรรูป การเพาะขยายพันธุ์ ที่เป็นวิถีที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม ได้ปฏิบัติจริง เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญจริง ฝึกฝนทักษะทั้ง 4 ด้าน คือ พุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา ซึ่งเป็นความรู้และทักษะที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้

วาทินี เชิดชูสกุล รายงาน