จังหวัดจันทบุรี ห่วงสถานการณ์ภัยแล้งเนื่องจากปริมาณน้ำกักเก็บน้อยกว่าปีที่ผ่านมา คณะกรรมการส่วนอำนวยการป้องกันภัยแล้งประชุมวางแผนเตรียมรับมือบริหารจัดการน้ำ ลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น

จังหวัดจันทบุรี ห่วงสถานการณ์ภัยแล้งเนื่องจากปริมาณน้ำกักเก็บน้อยกว่าปีที่ผ่านมา คณะกรรมการส่วนอำนวยการป้องกันภัยแล้งประชุมวางแผนเตรียมรับมือบริหารจัดการน้ำ ลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น

วันนี้ ( 2 ม.ค.63 ) ที่ห้องประชุมสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดจันทบุรี นายพงษ์พัฒน์ วงศ์ตระกูล และ นายอลงกรณ์ แอคะรัจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีเป็นประธานในการประชุม คณะกรรมการป้องกันแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จังหวัดจันทบุรี ที่เป็นคณะกรรมการส่วนอำนวยการ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดจันทบุรี( ภัยแล้ง ) ตามคำสั่งจังหวัดจันทบุรี ที่ 3792/2563 เพื่อเตรียมความพร้อมวางแผนป้องกันและลดผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง ที่คาดว่าปีนี้ จะมีผลกระทบต่อเกษตรกรและประชาชนผู้ใช้น้ำ ถึงแม้จังหวัดรวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้มีแผนในการป้องกันภัยแล้งที่คาดว่าจะยาวนาน และ รุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา ขณะที่ข้อมูลจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดจันทบุรี พบว่า ปีนี้ ปริมาณน้ำในเขื่อนหลัก และอ่างกักเก็บน้ำ ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ตอนนี้ ลดลงและมีที่น่าเป็นห่วงหลายแห่ง

โดยข้อมูล ณ วันที่ 2 ม.ค.63 พบว่า ปริมาณน้ำที่เขื่อนคิรีธารขณะนี้ลดลงเหลือ 63.850 ล้าน ลบ.ม. จากความจุสูงสุด 76 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 84.01 ของความจุเขื่อน / ปริมาณน้ำเขื่อนพลวง 67.668 ล้าน ลบ.ม. จากความจุสูงสุด 80.18 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 84.39 ของความจุเขื่อน / ปริมาณน้ำอ่างเก็บน้ำคลองศาลทราย 10.000 ล้าน ลบ.ม. จากความจุสูงสุด 12 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 83.33 ของความจุอ่าง / ประมาณน้ำอ่างเก็บน้ำคลองพระพุทธ 48.541 ล้าน ลบ.ม. จากความจุสูงสุด 78 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 62.23 ของความจุอ่าง / ปริมาณน้ำอ่างเก็บน้ำคลองประแกต 54.599 ล้าน ลบ.ม.จากความจุสูงสุด 60.26 ล้าน ลบ.ม. / ประมาณน้ำที่ประตูระบายน้ำคลองวังโตนด 4.380 ล้าน ลบ.ม. จากความจุสูงสุด 8.85 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 49.49 ของความจุ ปตร. / ประมาณน้ำที่ฝายยางจันทบุรี ปริมาณน้ำ 3.000 ล้าน ลบ.ม. จากความจุสูงสุด 4.20 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 71.43 ของความจุฝ่าย และปริมาณน้ำที่ฝ่ายยางท่าระม้า ปริมาณน้ำ 0.855 ล้าน ลบ.ม. จากความจุสูงสุด 0.83 ล้าน ลบ.ม.ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เตรียมบริหารจัดการน้ำในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ถึง เมษายน 63 ที่คาดว่าอาจจะเกิดวิกฤติภัยแล้งได้ซึ่งจังหวัดจันทบุรีถือเป็นจังหวัดที่มีอาชีพเกษตรกรรมและต้องใช้น้ำในช่วงหน้าแล้งเพื่อบำรุงผลผลิต ทุเรียน เงาะ มังคุด และผลไม้อื่น ๆ ซึ่งเป็นผลไม้เศรษฐกิจสร้างรายได้แก่เกษตรกร จึงจำเป็นที่จะต้องบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบเพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากสถานการณ์ภัยแล้ง จึงขอให้เกษตรกรชาวสวนผลไม้เตรียมความพร้อมป้องกันภัยแล้งที่จะเกิดขึ้น ใช้น้ำอย่างประหยัด และรู้คุณค่า แบ่งปันน้ำเพื่อการเกษตรอย่างทั่วถึงเพียงพอ การเตรียมตัวป้องกันที่ดีจะลดผลกระทบที่อาจะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี

ภาพ/ข่าว จรัล บรรยงคเสนา ผู้สื่อข่าว จ.จันทบุรี
นาย พรเทพ เขม้นเขตวิทย์ รายงานจากศูนย์ข่าวภาคตะวันออก